Posts

ฟาติมาสาร - แม่พระแห่งเมดจูกอเรย์ ... คำตอบที่ใกล้ปรากฏ (4 มี.ค. 2012)

Image
หลายสัปดาห์ก่อน ผมเขียนบทความเรื่อง “แม่พระประจักษ์ที่พระศาสนจักรรับรอง” โดยบอกเล่า 18 เหตุการณ์ที่พระศาสนจักรรับรองการประจักษ์ของแม่พระอย่างเป็นทางการ แบ่งเป็น 5 เหตุการณ์ที่รับรองก่อนตั้งสมณกระทรวงหลักความเชื่อ (ก่อน ค.ศ.1542), 10 เหตุการณ์ที่รับรองโดยวาติกัน และ 3 เหตุการณ์ที่รับรองโดยพระศาสนจักรท้องถิ่น ในตอนท้ายของบทความดังกล่าว ผมบอกว่า มีอีกหลายเหตุการณ์ที่วาติกันกำลังสอบสวนว่าจะประกาศรับรองหรือไม่ หนึ่งในนั้นก็คือ “แม่พระแห่งเมดจูกอเรย์” ประเทศบอสเนีย  .... มีร์ยานา, วิคก้า, อีวานก้า, ยาคอฟ, อีวาน และ มารียา เด็กที่เห็นแม่พระประจักษ์ ย้อนกลับไปวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พระคาร์ดินัล คามิลโล รูอินี่ ประธานคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์แม่พระประจักษ์ที่เมดจูกอเรย์ (อดีตอุปสังฆราชสังฆมณฑลโรม) ได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 เพื่อถวายรายงานความคืบหน้าของผลการสอบสวน ... การถวายรายงานนี้ เกิดขึ้นหลังจากคณะกรรมการสอบสวนฯได้ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลที่เมืองเมดจูกอร์เรย์ และเชิญบรรดาผู้เห็นแม่พระประจักษ์จำนวน 6 คน มาสัมภาษณ์ที่สมณกระทรวงหลักความเชื่อ หน่วยงานสำคัญสุดขอ

ฟาติมาสาร - อีกหนึ่งสังฆราชที่ “โป๊ป” ร่วมเลือก (26 ก.พ. 2012)

Image
ย้อนกลับไปเมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา (วันฉลองแม่พระแห่งลูร์ด) วาติกันได้ออกประกาศการแต่งตั้งพระสังฆราชคาทอลิกใหม่ 5 องค์ โดย 2 จาก 5 จัดเป็นเคสน่าสนใจมาก ที่บอกน่าสนใจเพราะคนหนึ่งเป็นพระสังฆราชใหม่ของเมืองลูร์ด ซึ่งพระสันตะปาปาทรงลงมาข้องเกี่ยวในการเลือกด้วยพระองค์เอง ส่วนอีกคนหนึ่ง กลายเป็นพระสังฆราชคาทอลิกที่อายุน้อยสุดในโลกไปแล้ว ตั้งแต่ติดตามก้าวแรกในสมณสมัยการปกครองของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 แบบใกล้ชิด 7 ปีเต็ม ผมจำได้ว่า มีพระสังฆราชผู้ปกครองสังฆมณฑลเพียง 3 องค์เท่านั้นที่ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ทรงลงมาข้องเกี่ยวในการเลือกและแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ (อาจมีมากกว่านี้ แต่ผมจำได้แค่สามท่าน) คนแรกก็คือ “พระอัครสังฆราช โจเซ่ โกเมส” พระอัครสังฆราชแห่งลอส แองเจลีส สหรัฐอเมริกา, คนที่สองคือ “พระคาร์ดินัล อันเจโล่ สโคล่า” พระอัครสังฆราชแห่งมิลาน อิตาลี และคนที่สามคือ “พระสังฆราช ฟรานเชสโก้ โมราเลีย” พระอัยกาแห่งเวเนเซีย (เวนิส) อิตาลี ปกติแล้ว เวลาเลือกพระสังฆราชใหม่ ผู้ที่ทำการตัดสินใจหลักๆ จะเป็นคณะพระคาร์ดินัลในสมณกระทรวงเพื่อพระสังฆราช ส่วนพระสันตะปาปาจะมีหน้

ฟาติมาสาร - สัมมนาวาติกัน & อำลาสมณทูต (19 ก.พ. 2012)

Image
เกริ่นไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า วาติกันได้เชิญสภาพระสังฆราชคาทอลิกทั่วโลกและอธิการเจ้าคณะนักบวชคาทอลิกทุกสำนัก ให้มาร่วมประชุมการป้องกันและการแก้ปัญหาสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศ ภายใต้หัวข้อ “TOWARDS HEALING AND RENEWAL” (ก้าวไปสู่การเยียวยาและการเริ่มต้นใหม่) การประชุมนี้จัดที่มหาวิทยาลัยเกรโกเรี่ยน กรุงโรม ระหว่างวันที่ 6-9 กุมภาพันธ์ 2012 ... วันนี้ ผมจะมาสรุปประเด็นสำคัญให้รับทราบกันว่า ทั่วโลกเขาตื่นตัวเรื่องนี้อย่างไรกันบ้าง การประชุมนี้ เปิดงานด้วยสารที่พระสันตะปาปาทรงส่งถึงบรรดาพระสังฆราชคาทอลิกทั่วโลก ใจความว่า “การเยียวยาเหยื่อสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในกลุ่มคริสตชน สิ่งนี้ต้องควบคู่ไปกับการฟื้นฟูขั้นพื้นฐานของพระศาสนจักรคาทอลิกทุกระดับ พ่อขอให้ทุกท่านสานต่อความตั้งใจในการสร้างวัฒนธรรมในพระศาสนจักร วัฒนธรรมที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพในการป้องกันและให้กำลังใจเหยื่อสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศ” จากนั้น วาติกันได้ทำเซอร์ไพรส์ครั้งใหญ่ด้วยการเชิญ “แมรี่ คอลลินส์” คริสตังชาวไอริชวัย 60 ปี มากล่าวแบ่งปันต่อหน้าพระสังฆราชทั่วโลก สำหรับประวัติของคุณป้าคนนี้ ตอนอายุ 13 ปีเคยถูกสงฆ์คาทอลิก

ฟาติมาสาร - สงฆ์แข็งข้อ ... เตรียมขยายสาขา (12 ก.พ. 2012)

Image
สัปดาห์ที่ผ่านมา วาติกันได้เชิญสมาชิกสภาพระสังฆราชคาทอลิกทั่วโลกและอธิการเจ้าคณะนักบวชต่างๆ ให้มาร่วมประชุมเกี่ยวกับการป้องกันและการแก้ปัญหาสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศ ภายใต้หัวข้อ “TOWARDS HEALING AND RENEWAL” (ก้าวไปสู่การเยียวยาและการเริ่มต้นใหม่) การประชุมนี้จัดที่มหาวิทยาลัยเกรโกเรี่ยน กรุงโรม ระหว่างวันที่ 6-9 กุมภาพันธ์ 2012 งานสัมมนาดังกล่าว พระสันตะปาปาและวาติกันคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะใช้เวทีดังกล่าว กล่าวขอโทษเหยื่อสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศอย่างเป็นทางการ (มีการเชิญเหยื่อสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศมาร่วมงานด้วย) นอกจากนี้ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ วาติกันจะจัดพิธีสวดทำวัตรเย็นขอโทษพระเจ้าและสัตบุรุษที่ผิดหวังจากการที่พระศาสนจักรคาทอลิก “เคย” ปกป้องพวกสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศแบบไม่ลืมหูลืมตาด้วย ... สำหรับรายละเอียดของการประชุมครั้งนี้ ผมขอเก็บมาแบ่งปันในสัปดาห์หน้า เนื่องจาก ณ วันที่เขียนบทความนี้อยู่ การสัมมนายังไม่เริ่มขึ้นแต่อย่างใด   ... เชื่อว่า ทุกคนยังจำเรื่อง “กลุ่มสงฆ์แข็งข้อในออสเตรีย” ซึ่งประกาศตนไม่นบนอบพระสังฆราชได้อย่างดี ตอนนี้ ระดับความน่ากลัวของสงฆ์กลุ่มนี้ได้รุนแรงถึงขั้นสุดแล้ว เพ

ฟาติมาสาร - แม่พระประจักษ์ที่พระศาสนจักรรับรอง (ตอน 2) 5 ก.พ. 2012

Image
สัปดาห์ที่แล้ว ผมเขียนเรื่องแม่พระประจักษ์ พระศาสนจักรรับรอง ไปแล้ว 8 แห่ง แบ่งเป็น 5 แห่งในยุคที่สมณกระทรวงหลักความเชื่อยังไม่ถูกสถาปนาขึ้น (ยุคก่อน ค.ศ.1542) และอีก 3 แห่งในยุคที่สมณกระทรวงหลักความเชื่อได้รับการสถาปนา (ค.ศ.1542-ปัจจุบัน) มาวันนี้ เราจะมาต่อกันให้จบครบทุกเหตุการณ์ที่พระศาสนจักรคาทอลิกรับรองครับ   ... รายชื่อแม่พระประจักษ์ที่วาติกันรับรอง (ต่อ) ... แม่พระแห่ง ลา ซาเล็ตต้า 4) แม่พระแห่งลา ซาเล็ตเต้ – การประจักษ์นี้ เกิดในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ.1846 ณ หมู่บ้านบนหุบเขาลา ซาเล็ตเต้ ใกล้เมืองเกรอน็อบล์ ประเทศฝรั่งเศส แม่พระประจักษ์มาหาเด็กเลี้ยงแกะ 2 คน ได้แก่ “เมลานี่ย์ กาลเวต์” และ “มักซิแม็ง ชีโรด์” รายละเอียดในการประจักษ์นี้ แม่พระทรงร้องไห้และกล่าวกับเด็กทั้งสองว่า “คนสมัยนี้ไม่มีเวลาให้พระเจ้าเลย พระเจ้าทรงให้มนุษย์ทำงาน 6 วันและขอวันอาทิตย์ให้เป็นวันของพระเจ้า แต่มนุษย์ไม่ฟัง พอการเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เกิดผล มนุษย์ก็ด่าว่าพระเจ้า ดังนั้น สิ่งที่จะเกิดต่อไปจนถึงวันคริสต์มาสในปีนี้ มนุษย์จะเผชิญกับภาวะอดอยากรุนแรง โรคระบาดจะกระจายไปทั่วยุโรป คนนับล้านจะเสียชีวิต ส่วนคน

ฟาติมาสาร - แม่พระประจักษ์ที่พระศาสนจักรรับรอง (ตอน 1) 29 มกราคม 2012

Image
หลายสัปดาห์ก่อน ผมเคยเขียนบนเฟซบุ๊คโป๊ปรีพอร์ตเกี่ยวกับเรื่องแม่พระประจักษ์ที่พระศาสนจักรคาทอลิกให้การรับรอง ปรากฏว่า มีผู้ให้ความสนใจเยอะพอสมควร ผมเห็นว่า มันคงเป็นประโยชน์มากขึ้นถ้านำมาถ่ายทอดลงบนหน้ากระดาษฟาติมาสาร เพื่อช่วยให้ทุกคนได้รู้ว่า แม่พระประจักษ์ที่ไหนบ้างที่พระศาสนจักรรับรองแบบเป็นทางการ ก่อนลงลึกถึงรายละเอียด ขออธิบายว่า พระศาสนจักรคาทอลิกรับรองเหตุการณ์แม่พระประจักษ์เป็น 2 ยุค ยุคแรกคือ “ยุคก่อน ค.ศ.1542” นี่เป็นยุคที่สมณกระทรวงหลักความเชื่อยังไม่ถูกสถาปนา ( CONGREGATION FOR THE DOCTRINE OF THE FAITH – หน่วยงานบัญญัติศัพท์ไทยเรียก “สมณกระทรวงพระสัจธรรม” แต่ผมขอเรียกสมณกระทรวงหลักความเชื่อ ถ้าเรียกพระสัจธรรม มีหวังคนทั่วไปงงกันทั้งประเทศ เพราะต้องมาตีความอีกว่า “สัจธรรมคืออะไร” ) สมณกระทรวงหลักความเชื่อได้รับการแต่งตั้งโดยสมเด็จพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 3 กระทรวงนี้เปรียบได้กับ “กระทรวงมหาดไทย” ยุคนั้น กระทรวงนี้ถูกตั้งมาเพื่อรับมือกับการแยกตัวออกไปของ “มาร์ติน ลูเธอร์” ส่วนหน้าที่อื่นๆที่สืบมาถึงปัจจุบันก็คือหน้าที่ตรวจสอบความเชื่อและกฏระเบียบต่างๆในพระศาสนจักรไม่ให้ผิด

ฟาติมาสาร - ศาสนาคริสต์ถูกเบียดเบียนหนักขึ้นเรื่อยๆ (22 มกราคม 2012)

Image
สัปดาห์ที่แล้ว ระหว่างยืนรอกาแฟในร้านสตาร์บัคส์ ผมหยิบ THE ECONOMIST นิตยสารระดับโลกสัญชาติอังกฤษมาอ่านรอไปพลางๆ ตอนแรกจะอ่านเรื่อง “ยูโรโซน” แต่ปรากฏมีคอลัมน์น่าสนใจกว่าเรื่องเศรษฐกิจยุโรป บทความที่ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเบียดเบียนคริสตชนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีทีท่าว่าจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ THE ECONOMIST เริ่มต้นบทความด้วยการกล่าวว่าศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากสุดในโลก แต่ในทางกลับกัน ศาสนาคริสต์ก็เป็นศาสนาที่ผู้นับถือถูกเบียดเบียนจนถึงแก่ความตายมากสุดเช่นกัน ปัจจุบัน มีการคาดกันว่ามีคริสตศาสนิกชน (ทุกนิกาย) อยู่ในโลกประมาณ 2.2 พันล้านคน จำนวนนี้ คิดเป็น 31.4 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก (เพิ่งทะลุ 7 พันล้านคนไปเมื่อปลายปี 2011) ตอนนี้ ทวีปที่มีอัตราการเพิ่มประชากร “ชาวคริสต์” มากสุดในโลกได้แก่ทวีปแอฟริกา โดยศตวรรษที่ 20 มีชาวคริสต์ในแอฟริกา 9 เปอร์เซ็นต์ แต่ในศตวรรษที่ 21 มีชาวคริสต์ในแอฟริกา 63 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทวีปยุโรป ดินแดนมรดกวัฒนธรรมล้ำค่าทางคริสตศาสนา ประชากรคริสต์ลดลงจาก 95 เปอร์เซ็นต์ในศตวรรษที่ 20 เหลือ 76 เปอร์เซ็นต์ในศตวรรษที่ 21 ส่วนทวีปอเมริกา ก็ประสบปัญหาเช่นกัน ชา