Posts

ฟาติมาสาร - แม่พระประจักษ์ที่พระศาสนจักรรับรอง (ตอน 1) 29 มกราคม 2012

Image
หลายสัปดาห์ก่อน ผมเคยเขียนบนเฟซบุ๊คโป๊ปรีพอร์ตเกี่ยวกับเรื่องแม่พระประจักษ์ที่พระศาสนจักรคาทอลิกให้การรับรอง ปรากฏว่า มีผู้ให้ความสนใจเยอะพอสมควร ผมเห็นว่า มันคงเป็นประโยชน์มากขึ้นถ้านำมาถ่ายทอดลงบนหน้ากระดาษฟาติมาสาร เพื่อช่วยให้ทุกคนได้รู้ว่า แม่พระประจักษ์ที่ไหนบ้างที่พระศาสนจักรรับรองแบบเป็นทางการ ก่อนลงลึกถึงรายละเอียด ขออธิบายว่า พระศาสนจักรคาทอลิกรับรองเหตุการณ์แม่พระประจักษ์เป็น 2 ยุค ยุคแรกคือ “ยุคก่อน ค.ศ.1542” นี่เป็นยุคที่สมณกระทรวงหลักความเชื่อยังไม่ถูกสถาปนา ( CONGREGATION FOR THE DOCTRINE OF THE FAITH – หน่วยงานบัญญัติศัพท์ไทยเรียก “สมณกระทรวงพระสัจธรรม” แต่ผมขอเรียกสมณกระทรวงหลักความเชื่อ ถ้าเรียกพระสัจธรรม มีหวังคนทั่วไปงงกันทั้งประเทศ เพราะต้องมาตีความอีกว่า “สัจธรรมคืออะไร” ) สมณกระทรวงหลักความเชื่อได้รับการแต่งตั้งโดยสมเด็จพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 3 กระทรวงนี้เปรียบได้กับ “กระทรวงมหาดไทย” ยุคนั้น กระทรวงนี้ถูกตั้งมาเพื่อรับมือกับการแยกตัวออกไปของ “มาร์ติน ลูเธอร์” ส่วนหน้าที่อื่นๆที่สืบมาถึงปัจจุบันก็คือหน้าที่ตรวจสอบความเชื่อและกฏระเบียบต่างๆในพระศาสนจักรไม่ให้ผิด

ฟาติมาสาร - ศาสนาคริสต์ถูกเบียดเบียนหนักขึ้นเรื่อยๆ (22 มกราคม 2012)

Image
สัปดาห์ที่แล้ว ระหว่างยืนรอกาแฟในร้านสตาร์บัคส์ ผมหยิบ THE ECONOMIST นิตยสารระดับโลกสัญชาติอังกฤษมาอ่านรอไปพลางๆ ตอนแรกจะอ่านเรื่อง “ยูโรโซน” แต่ปรากฏมีคอลัมน์น่าสนใจกว่าเรื่องเศรษฐกิจยุโรป บทความที่ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเบียดเบียนคริสตชนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีทีท่าว่าจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ THE ECONOMIST เริ่มต้นบทความด้วยการกล่าวว่าศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากสุดในโลก แต่ในทางกลับกัน ศาสนาคริสต์ก็เป็นศาสนาที่ผู้นับถือถูกเบียดเบียนจนถึงแก่ความตายมากสุดเช่นกัน ปัจจุบัน มีการคาดกันว่ามีคริสตศาสนิกชน (ทุกนิกาย) อยู่ในโลกประมาณ 2.2 พันล้านคน จำนวนนี้ คิดเป็น 31.4 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก (เพิ่งทะลุ 7 พันล้านคนไปเมื่อปลายปี 2011) ตอนนี้ ทวีปที่มีอัตราการเพิ่มประชากร “ชาวคริสต์” มากสุดในโลกได้แก่ทวีปแอฟริกา โดยศตวรรษที่ 20 มีชาวคริสต์ในแอฟริกา 9 เปอร์เซ็นต์ แต่ในศตวรรษที่ 21 มีชาวคริสต์ในแอฟริกา 63 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทวีปยุโรป ดินแดนมรดกวัฒนธรรมล้ำค่าทางคริสตศาสนา ประชากรคริสต์ลดลงจาก 95 เปอร์เซ็นต์ในศตวรรษที่ 20 เหลือ 76 เปอร์เซ็นต์ในศตวรรษที่ 21 ส่วนทวีปอเมริกา ก็ประสบปัญหาเช่นกัน ชา

ฟาติมาสาร - ปี 2012 มีเหตุการณ์อะไรบ้างในพระศาสนจักร (8 ม.ค. 2012)

Image
ปี 2012 เป็นอีกหนึ่งปีที่น่าจะมีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นในพระศาสนจักรคาทอลิก ก่อนหน้านี้ ผมเคย “รีวิว 2011” ให้ติดตามกันแล้ว วันนี้ มาดู “พรีวิว 2012” บ้างว่าจะมีเรื่องเด่นๆอะไรเกิดขึ้น   ...  เดือนมกราคม ดูแล้วยังไม่น่าจะไฮไลท์สำคัญอะไรมาก ดังนั้น ขอเริ่มที่ “เดือนกุมภาพันธ์ 2012” หากไม่มีอะไรผิดพลาด พระสันตะปาปาน่าจะสถาปนาพระคาร์ดินัลใหม่อย่างน้อย 13 องค์แบบที่เคยรายงานไปในสัปดาห์ที่แล้ว ตามธรรมเนียมพระศาสนจักรคาทอลิก การสถาปนาพระคาร์ดินัลใหม่จะกระทำอยู่ 2 ช่วง หนึ่งคือ “วันที่ 22 กุมภาพันธ์ วันฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร” และ วันสมโภชพระเยซูกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล (อาทิตย์สุดท้ายของปีพิธีกรรม ก่อนเริ่มเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าในเดือนธันวาคม” อย่างไรก็ตาม นักข่าวสายวาติกันระดับโลกหลายคนมองว่า ถ้ารอถึงเดือนพฤศจิกายน มันจะนานเกินไป ดังนั้น การสถาปนาใหม่น่าจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012 ... สาเหตุที่ปี 2012 ไม่เป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ เพราะวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2012 ตรงกับ “วันพุธรับเถ้า” (ส่วนวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ปี 2012 ตรงกับวันศุกร์ที่ 6 เมษายน จำง่ายๆก็ “วันจักรี”

ฟาติมาสาร - “จากโป๊ปถึงคนไทย” & “คาร์ดินัลใหม่ 2012” (1 ม.ค. 2012)

Image
วันคริสต์มาสที่ผ่านมา หากใครติดตามการถ่ายทอดสดการประทานพร “อูร์บิ เอ็ด ออร์บิ” (URBI ET ORBI – แด่โรมและโลก) ผ่านทางเว็บไซต์โป๊ปรีพอร์ทดอทคอม น่าจะได้เห็นและได้ยินพระสันตะปาปาตรัสอวยพรคริสต์มาสเป็นภาษาไทยว่า “สุขสันต์วันคริสตสมภพแด่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกคน” อย่างไรก็ตาม ไฮไลท์ของการประทานพรคริสต์มาสไม่ได้อยู่แค่พระสันตะปาปาตรัสเป็นภาษาไทยเท่านั้น เพราะมันยังอยู่ที่การตรัสแบ่งปันมุมมองพระสันตะปาปาที่มีต่อสถานการณ์โลกในรอบปี 2011 พระดำรัสที่ว่านี้ พระสันตะปาปาจะตรัสก่อนจะอวยพรเป็นภาษาต่างๆ โดยพระองค์ตรัสถึง “ประเทศไทย” แบบเน้นๆว่า “ในปี 2011 เป็นปีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ ประชาชนจำนวนมากต้องเผชิญภาวะน้ำท่วมครั้งร้ายแรง ขอพระกุมารนำการเยียวรักษาจิตใจมาสู่พวกเขา” (น่าเสียดายที่สื่อมวลชนไทยทุกสำนัก รายงานแค่ว่า พระสันตะปาปาออกมาตรัสอวยพรคริสต์มาส แต่ไม่ได้สนใจว่า พระองค์ตรัสอะไรบ้าง ถ้าใส่ใจนิดนึง พวกเขาจะเล่นประเด็นข่าวได้มากกว่านี้ เนื่องจากพระสันตะปาปากล่าวถึงคนไทยแบบเต็มๆ) ในมุมมองของผม ปี 2011 ที่ผ่านไปนั้น เป็

ฟาติมาสาร - 2011 ... เกิดอะไรขึ้นบ้างในพระศาสนจักร (25 ธ.ค. 2011)

Image
เป็นธรรมเนียมของสำนักข่าวที่เมื่อถึงฉบับสุดท้ายของปี จะต้องมีการสรุปข่าวสำคัญของปีให้ผู้อ่านได้ทบทวนกัน เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราไปดูกันว่า รอบปีที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นบ้างกับพระศาสนจักรคาทอลิก    ... มกราคม 15 ม.ค. “3 บิช็อปแองกลิกันรับศีลบวชเป็นสงฆ์คาทอลิก” … บิช็อป คีธ นิวตัน, บิช็อป จอห์น บรอดเฮิร์สท์ และ บิช็อป แอนดรูว์ เบิร์นแน่ม อดีตสามบิช็อปแห่งแองกลิกัน ประเทศอังกฤษ สามผู้อภิบาลกลุ่มแรกของศาสนจักรเชิร์ชออฟอิงแลนด์ ได้สมัครใจขอรับศีลบวชเป็นสงฆ์คาทอลิก หลังจากวาติกันอนุญาตให้ผู้อภิบาลแองกลิกันที่ไม่เห็นด้วยกับการอนุญาตให้สตรีบวชเป็นสงฆ์ รวมถึงผู้ที่คัดค้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน สามารถมาร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรคาทอลิกได้ 21 ม.ค. “อิหม่ามอียิปต์ประกาศงดเสวนาศาสนสัมพันธ์กับวาติกัน” ... อิหม่าม อาเหม็ด อัล-ตาเย็บ ผู้นำมุสลิมในอียิปต์ ประกาศงดศาสนสัมพันธ์กับวาติกัน หลังไม่พอใจที่พระสันตะปาปาประณามเหตุระเบิดหน้าโบสถ์ค็อปติกในอียิปต์ พร้อมชี้ว่านี่คือการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ ... อิหม่ามคนนี้คือคนที่ “เบเนต็อง” นำมาโฆษณาตัดต่อเป็นภาพจุมพิตกับพระสันตะปาปา นี่แหละคือต้นตอของ

ฟาติมาสาร - สิ่งที่น่าจะเกิดก่อนสิ้นยุคโป๊ปเบเนดิกต์ (18 ธ.ค. 2011)

Image
ผมนั่งเขียนบทความนี้ที่เมืองอิสตันบลู ประเทศตุรกี ระหว่างรอ 2 ชั่วโมงเพื่อเปลี่ยนเครื่องไปเมืองเทล อาวีฟ ประเทศอิสราเอล ผมพยายามหาสัญญาณอินเตอร์เน็ทเพื่อเช็คข่าวพระสันตะปาปาและวาติกัน แต่ไม่มีสัญญาณให้ใช้แบบฟรีๆเลย ดังนั้น วันนี้ขอเขียนบทความที่เกิดจากมุมมองของตัวเองแบบเพียวๆให้ติดตามก็แล้วกัน   บทความในวันนี้ไม่ได้นำข่าวประเด็นสำคัญมาถ่ายทอดให้ฟัง แต่ผมอยากวิเคราะห์สิ่งที่น่าจะเกิดในปีหน้า (2012) และปีต่อๆไปในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 สิ่งเหล่านี้ ผมใช้ประสบการณ์การตามทำข่าวพระสันตะปาปาองค์นี้ตั้งแต่วันแรกที่ได้รับเลือกจนถึงปัจจุบัน มาเป็นพื้นฐานวิเคราะห์ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า เรื่องทั้งหมดนี้ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ต้องการทำให้สำเร็จลุล่วงให้เร็วที่สุดในสมณสมัยของพระองค์ เรื่องแรกที่น่าจะเกิดแน่ๆในยุคของพระสันตะปาปาองค์นี้ ก็คือ “การพบกันของผู้นำพระศาสนจักรคาทอลิกกับผู้นำพระศาสนจักรออโธด็อกซ์แห่งมอสโก” นับตั้งแต่ขัดแย้งกันมา 1,000 กว่าปี ผู้นำพระศาสนจักรตะวันตก (พระสันตะปาปา) กับ ผู้นำพระศาสนจักรตะวันออก (พระอัยกาแห่งมอสโก) ก็ไม่เคยพบหน้ากันอีกเลย ยิ่งไปกว่านั้น ความ

ฟาติมาสาร - คุณสมบัติของพระสังฆราชที่ดี (11 ธ.ค. 2011)

Image
ขณะที่ท่านกำลังอ่านบทความนี้ (ถ้าอ่านวันอาทิตย์ที่ 11 ธ.ค.) ตัวผมเองก็น่าจะอยู่ที่ประเทศอิสราเอลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังกลับจากสวีเดนในเดือนพฤศจิกายน 2010 ผมก็ไม่ได้ออกนอกประเทศอีกเลย หนึ่งปีให้หลัง ได้เวลาออกเดินทางอีกครั้ง แถมการไปครั้งนี้ต้องไปเมืองที่คนไทยส่วนมากไม่เคยได้ยินมาก่อนด้วย หวังว่า จะเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่น่าจดจำ   ... เฮอร์ซลีย่า ประเทศอิสราเอล พูดถึงอิสราเอล คริสตังส่วนมากจะนึกถึง “เยรูซาเล็ม” นครศักดิ์สิทธิ์ของ 3 ศาสนา (ยิว-คริสต์-อิสลาม) นอกจากนี้ อาจมีบ้างที่รู้จักเมืองอื่นๆเช่น เทล ฮาลวีฟ, ไฮฟา, กาลิลี, นาซาเร็ธ, เบ็ธเลเฮม และเยรีโฮ (สองเมืองหลังอยู่ในเขตปาเลสไตน์ และมีประวัติศาสตร์ทางพระคัมภีร์ เฉพาะอย่างยิ่ง เยรีโฮ นี่คือเมืองที่พระเยซูทำอัศจรรย์รักษาคนตาบอด 2 คน และเป็นเมืองที่พระเยซูพบกับ “ศักเคียส” คนเก็บภาษีผู้ร่ำรวยซึ่งทูลพระเยซูว่า “ถ้าผมไปโกงใครมา ผมจะคืนของให้คนนั้น 4 เท่า” ... ชื่อที่ถูกต้องของเมืองนี้คือ “เยรีโฮ” ไม่ใช่ “เยรีโค” แบบที่คนไทยเรียกกัน)  ส่วนเมืองที่ผมจะไปนั้น ชื่อว่า “เฮอร์ซลีย่า” (HERZLIYA) เป็นเมืองธุรกิจและท่องเที่ยวของอิสราเอ