Posts

Showing posts from June, 2011

ฟาติมาสาร - 2012 ... พระสันตะปาปาเสด็จเยือนเอเชีย?? (3 ก.ค. 2011)

Image
ปีนี้ เป็นปีที่ 7 ในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 นับตั้งแต่วันเริ่มต้นสมณสมัยจนถึงวันนี้ พระองค์เดินทางเยือนไปแล้ว 4 ทวีป ได้แก่ทวีปยุโรป, ทวีปอเมริกา (เหนือและใต้), ทวีปโอเชียเนีย และทวีปแอฟริกา เหลือเพียงทวีปเดียวเท่านั้นที่พระสันตะปาปาองค์ที่ 265 ของพระศาสนจักรคาทอลิก ยังไม่เคยเยือน นั่นคือ “เอเชีย” (จริงๆแล้ว ถ้าจะเหมาว่า พระสันตะปาปามาเอเชียแล้วก็ได้ เพราะปี 2008 พระองค์เสด็จเยือน “อิสราเอล” และ “จอร์แดน” แต่สำนักข่าวต่างประเทศมองว่า “เอเชียของจริง” คือเอเชียที่รวมจีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, ไทย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และอินโดนีเซีย) พูดถึงเอเชีย นี่คือทวีปที่ใหญ่สุดในโลก ประชากร 60 เปอร์เซ็นต์ของโลกมาจากทวีปนี้ อย่างไรก็ตาม เอเชียเป็นทวีปที่มีความหลากหลายมากๆ ศาสนามากมายถือกำเนิดในทวีปนี้ กระนั้น คริสตังในเอเชียยังน้อยไปนิด ทวีปแห่งนี้มีคริสตังประมาณ 10.7 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งทวีป กลับมาที่เรื่องของพระสันตะปาปากันต่อ พระสันตะปาปาองค์แรกที่เสด็จจากวาติกันเพื่อเยี่ยมคริสตังในเอเชีย ได้แก่ สมเด็จพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 พระองค์มาเยือนเอเชีย 2 ครั้ง (ค.ศ.1964 และ 1970

ฟาติมาสาร - 29 มิถุนายน ครบ 60 ปีชีวิตสงฆ์ของโป๊ปเบเนดิกต์ (26 มิ.ย. 2011)

Image
วันที่ 29 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญของพระศาสนจักรคาทอลิก เพราะนี่คือวันสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล สองกำลังหลักในการประกาศคริสตศาสนายุคแรกเริ่ม นอกจากนี้ ยังเป็นวันที่พระสันตะปาปาจะมอบ “ปัลลิอุม” (ผ้าขนแกะไว้สวมที่คอ) ให้กับพระอัครสังฆราชใหม่ทุกองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งในรอบปีที่ผ่านมา นี่คือสองสิ่งหลักที่พระศาสนจักรจะทำในวันที่ 29 มิถุนายนของทุกปี การ์ดวันบวชพระสงฆ์ของ "โยเซฟ รัตซิงเกอร์" วันที่ 29 มิ.ย. 1951 อย่างไรก็ตาม ปีนี้ วันที่ 29 มิถุนายน ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก เมื่อเป็นวันครบ 60 ปี “ชีวิตสงฆ์” ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ประมุของค์ที่ 265 แห่งพระศาสนจักรคาทอลิก โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (พระสันตะปาปาเบเนดิกต์) ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1951 ณ อาสนวิหารเมืองไฟร์ซิ่ง ประเทศเยอรมนี โดยประธานในพิธีบวช ได้แก่ พระคาร์ดินัล มิชาเอล โฟน ฟอลฮาแบร์ ความพิเศษในพิธีบวชวันนั้นคือ “2 พี่น้องรัตซิงเกอร์” เกยอร์ก (พี่ชาย) และ โยเซฟ ต่างได้รับศีลบวชพร้อมกัน ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้อง วันพุธที่ 29 มิถุนายนที่จะถึงนี้ เป็นวันครบรอบ 60 ปีชีวิตสงฆ์ข

ฟาติมาสาร - นักบวช หรือ นักธุรกิจ (19 มิ.ย. 2011)

Image
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา ช่วงที่สัตบุรุษวัดแม่พระฟาติมากำลังร่วมมิสซาแห่แม่พระ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงเรียกประชุมคณะพระคาร์ดินัลและพระอัครสังฆราชระดับสูงในวาติกัน โดยรายละเอียดของการประชุมนั้น ไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม นักข่าวสายวาติกันทราบดีว่า การไม่เปิดเผยรายละเอียดคือความผิดปกติที่ชวนให้ค้นหาว่า รายละเอียดการประชุมคืออะไรบ้าง เพราะตามปกติ เวลาพระสันตะปาปาพบและประชุมกับใคร วาติกันจะแถลงทุกครั้ง ถ้าพระสันตะปาปาเรียกประชุมและไม่มีการแถลงรายละเอียด ให้สันนิษฐานว่า ต้องเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการบริหารพระศาสนจักรแน่ๆ ครั้งสุดท้ายที่มีการประชุมและไม่มีการแถลงรายละเอียด เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2010 ผลที่เกิดหลังจากนั้นคือ พระสันตะปาปาทรงสถาปนา “สมณสภาประกาศพระวรสารใหม่” (THE PONTIFICAL COUNCIL FOR NEW EVANGELIZATION) โดยสมณสภานี้ มีหน้าที่แพร่ธรรมให้คนยุโรปและอเมริกันที่ทิ้งพระ กลับใจมาหาพระองค์อีกครั้ง กลับมาที่การประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แม้วาติกันไม่แถลงรายละเอียด แต่ “อันเดรีย ตอร์นิเอลลี่” นักข่าวสายวาติกันมือวางอันดับ 1 ของโลก

ฟาติมาสาร - บทสรุปพระสันตะปาปาเยือนโครเอเชีย (12 มิ.ย. 2011)

Image
สัปดาห์ที่ผ่านมา หากใครตามข่าวสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 จะพบว่า พระองค์เสด็จเยือนโครเอเชีย ประเทศในยุโรปตอนกลาง การเยือนครั้งนี้ พระสันตะปาปามีจุดประสงค์เพื่อร่วมงาน “วันครอบครัวคริสตังโครเอเชีย” รายละเอียดตรงนี้เป็นเช่นไร และรายละเอียดปลีกย่อยมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลย    ....  ในอดีต โครเอเชียเป็นส่วนหนึ่งของ “ยูโกสลาเวีย” กระทั่ง ค.ศ.1991 โครเอเชียได้แยกตัวอย่างเป็นทางการจากยูโกสลาเวีย (ปัจจุบัน ไม่มีประเทศยูโกสลาเวียแล้ว โดยประเทศแห่งนี้ ได้แยกตัวออกเป็น 6 ชาติ ได้แก่ โครเอเชีย, เซอร์เบีย, มอนเตเนโกร, มาเซโดเนีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีน่า และสโลเวเนีย) 6 ประเทศที่กล่าวมา โครเอเชีย เป็นชาติเดียวที่ประชากรเป็นคาทอลิกมากที่สุด กล่าวคือ 90 เปอร์เซ็นต์ของชาวโครแอต นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก (โครเอเชีย มีประชากร 4.4 ล้านคน) ส่วนเซอร์เบีย, มอนเตเนโกร และมาเซโดเนีย นับถือศาสนาคริสต์ นิกายออโธด็อกซ์ ขณะที่บอสเนียและเฮอร์เซโกวีน่า เป็นชาวมุสลิม ส่วนสโลเวเนีย จริงๆแล้ว เป็นประเทศคาทอลิก แต่จำนวนคนไม่มีศาสนาเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราส่วนเริ่มสูสีกันมาก จนยากจะระบุว่