The Three Magi (โหราจารย์ทั้งสาม) ชื่ออะไร เดินทางจากไหน เพื่อมานมัสการพระกุมาร

วันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ (Epiphany) ซึ่งตรงกับวันที่ 6 มกราคม เป็นวันที่ระลึกถึงการเผยแสดงพระกุมารเยซูแก่ประชาชาติผ่านการมาเยือนของโหราจารย์ (Magi) ผู้เดินทางจาก “ทิศตะวันออก” เพื่อนมัสการพระองค์ พร้อมถวายของขวัญสามอย่าง ได้แก่ ทองคำ กำยาน และมดยอบ

หลายคนคงอยากรู้ว่า โหราจารย์ทั้งสามชื่ออะไร เดินทางจากไหน วันนี้ Pope Report ลองไปค้นข้อมูลมาให้ ไปติดตามกันได้


1. โหราจารย์ (Magi) คือใคร


พระวรสารนักบุญแม็ทธิวไม่ได้ระบุชื่อของโหราจารย์ แต่ตาม “ประเพณี” เชื่อว่าชื่อของพวกเขาคือ กาสปาร์ (Caspar), เมลคิออร์ (Melchior) และ บัลธาซาร์ (Balthasar) 


คำว่า Magi มาจากภาษาเปอร์เซีย “Magus” ซึ่งหมายถึงนักบวชหรือผู้มีความรู้ในศาสนาโซโรอัสเตอร์ นักบุญเคลเมนต์แห่งอเล็กซานเดรียเคยกล่าวว่าโหราจารย์มาจากเปอร์เซีย และพวกเขาอาจเป็นนักดาราศาสตร์ที่ศึกษาดาวบนท้องฟ้า


** ศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาหลักในจักรวรรดิเปอร์เซีย และนักบวชในศาสนานี้มีบทบาทสำคัญในการศึกษาดาราศาสตร์และการพยากรณ์ 


2. ทั้งสามคนรู้จักกันมาก่อนไหม 


ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าโหราจารย์ทั้งสามเคยรู้จักกันมาก่อนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าพวกเขามาพบกันระหว่างการเดินทาง หรือได้รับแรงบันดาลใจร่วมกันในการติดตาม “ดาวแห่งเบ็ธเลเฮม”


3. “มาจากทิศตะวันออก” กับความเชื่อมโยง “บาบิโลเนีย”


ทิศตะวันออกที่ระบุนั้นในพระวรสาร มีความเป็นไปได้สูงว่า จะเป็น "บาบิโลเนีย" (ปัจจุบันคืออิรัก) เนื่องจากเป็นศูนย์กลางดาราศาสตร์และมีชุมชนชาวยิวขนาดใหญ่ที่รักษาคำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสซิยาห์ โหราจารย์อาจตีความ “ดาวแห่งเบ็ธเลเฮม” ว่าเป็นสัญญาณของกษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรม * บาบิโลเนียเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวยิวขนาดใหญ่ หลังจากการถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยในปี 586 ก่อนคริสตกาล (2 พงศ์กษัตริย์ 25:11-21)

** อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางแห่งก็แย้งว่า ทิศตะวันออก
อาจครอบคลุมไปถึงเปอร์เซีย (อิหร่าน) ด้วย


4. เดินทางมาไกลแค่ไหน


ระยะทางจากเปอร์เซียหรือบาบิโลเนียไปยังเบ็ธเลเฮมอยู่ระหว่าง 800 ถึง 1,200 ไมล์ การเดินทางเช่นนี้ต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือมากกว่าหนึ่งปี พระวรสารนักบุญแม็ทธิวระบุว่า โหราจารย์ไปเยี่ยมพระเยซูที่ “บ้าน” (2:11) ไม่ใช่ที่ถ้ำเลี้ยงสัตว์ ซึ่งแสดงว่าพวกเขามาถึงหลังการประสูติของพระเยซูไม่นาน


5. ความหมายของ “ทองคำ กำยาน มดยอบ”


- ทองคำ (χρυσός - chrysós): สัญลักษณ์แห่งความเป็นกษัตริย์

- กำยาน (λίβανος - líbanos): สัญลักษณ์แห่งความเป็นพระเจ้าและการนมัสการ

- มดยอบ (σμύρνα - smýrna): สัญลักษณ์แห่งความเป็นมนุษย์และการสิ้นพระชนม์


Sources: 


[1] https://www.messengersaintanthony.com/content/lands-magi 

[2] https://www.catholic.com/magazine/print-edition/mysteries-of-the-magi 

[3] https://www.nationalshrine.org/blog/the-adoration-of-the-magi-recognizing-christs-kingship-at-epiphany/ 

[4] https://www.catholic.com/encyclopedia/magi 

[5] https://www.catholic.com/magazine/print-edition/why-the-magi-came 

[6] https://www.newadvent.org/cathen/09527a.html 



Comments