โป๊ปฟรังซิส: "สังคมที่มีเรื่องลูกหลานให้กังวลใจ ดีกว่าสังคมที่ไม่มีลูกหลานให้กังวล"
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงแบ่งปัน เด็กและลูกหลานนำความชื่นชมยินดีและความหวังมาให้เรา แต่ในเวลาเดียวกัน พวกเขาก็นำปัญหาและความกังวลใจมาให้เราด้วย กระนั้น มันเป็นการดีที่สังคมจะมีปัญหาและความกังวลใจเกี่ยวกับเด็กๆ เพราะสังคมแบบนี้ดีกว่าสังคมที่ไม่มีเด็กเกิดมา จึงไม่ต้องมาคอยกังวลปัญหาต่างๆ
ช่วงสายวันพุธที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงออกมาพบปะและเทศน์สอนสัตบุรุษในการเข้าเฝ้าทั่วไป ณ ลานหน้ามหาวิหารนักบุญเปโตร วาติกัน วันนี้ พระสันตะปาปายังคงเทศน์สอนเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว โดยเป็นเรื่องของ "บทบาทของลูก"
พระสันตะปาปา ตรัสว่า "ลูกคือของขวัญที่ยิ่งใหญ่เพื่อมนุษยชาติและเพื่อพระศาสนจักร พ่อนึกถึงภาพเด็กๆ หลายคนที่มีความสุขในระหว่างที่พ่อเดินทางเยือนเอเชีย พวกเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวาและความกระตือรือร้น ในทางกลับกัน พ่อยังคิดถึงเด็กๆ จำนวนมากทั่วโลกที่กำลังดำเนินชีวิตอยู่ในความยากจนและความต้องการความช่วยเหลืออีกมาก พ่ออยากย้ำว่า เราสามารถประเมินสังคมนั้นๆ ได้จากวิธีการที่สังคมดังกล่าวปฏิบัติต่อเด็กๆ ได้เช่นกัน
"พวกเราเห็นพระเยซูอยู่ในตัวของเด็กๆ ดังที่พระองค์ทรงบังเกิดเป็นทารกที่เมืองเบ็ธเลเฮม สิ่งนี้คือเครื่องเตือนใจที่ล้ำค่าถึงความจริงที่ว่า การจะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้านั้น เราต้องอย่ามองว่าตัวเองไม่ต้องพึ่งพาใคร แต่เราต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น ต้องการความรัก และต้องการการอภัยด้วยเช่นกัน
"เด็กๆ ยังเป็นเครื่องเตือนใจเราว่า พวกเราเป็นลูกชายและลูกสาว(ของพระเจ้า)อยู่เสมอ นี่คืออัตลักษณ์ที่เตือนเราว่าเราได้รับพระพรแห่งชีวิต นอกจากนี้ ยังมีพระพรอีกมากที่เด็กๆ นำมามอบให้มนุษยชาติ หนึ่งในพระพรของเด็กๆ ที่ท้าทายเราก็คือ เราต้องมองสิ่งต่างๆ ด้วยความเรียบง่าย ใสสะอาด และมองด้วยหัวใจที่มีความวางใจ
"เด็กๆ นำชีวิต ความชื่นชมยินดี ความหวัง และแน่นอน พวกเขานำปัญหามาให้เรา! แต่ชีวิตก็เป็นแบบนี้แหละ มันจริงอยู่ที่พวกเขานำความกังวลใจและบางครั้งก็มีปัญหามากมาย แต่สังคมที่เปี่ยมด้วยความกังวลและปัญหาแบบนี้ ย่อมดีกว่าสังคมที่โศกเศร้าเพราะไม่มีเด็กๆ! เมื่อเราเห็นสังคมที่มีอัตราการเกิดของเด็กแค่ 1 เปอร์เซ็นต์หรือต่ำกว่านั้น เราสามารถพูดได้เลยว่า สังคมนั้นกำลังซึมเศร้า เพราะพวกเขาไม่มีลูกหลานนั่นเอง
"พ่อจึงอยากเชิญชวนเราให้ต้อนรับเด็กๆ ทุกคน พวกเขานำชีวิตชีวา ความชื่นชมยินดี และความหวังมาให้กับโลก มันจะเศร้าขนาดไหนถ้าโลกเราไม่มีเด็กๆ อยู่เลย" พระสันตะปาปา ตรัสในตอนท้าย
ประมวลภาพ: การเข้าเฝ้าทั่วไป
Read More: Vatican Radio
ช่วงสายวันพุธที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงออกมาพบปะและเทศน์สอนสัตบุรุษในการเข้าเฝ้าทั่วไป ณ ลานหน้ามหาวิหารนักบุญเปโตร วาติกัน วันนี้ พระสันตะปาปายังคงเทศน์สอนเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว โดยเป็นเรื่องของ "บทบาทของลูก"
พระสันตะปาปา ตรัสว่า "ลูกคือของขวัญที่ยิ่งใหญ่เพื่อมนุษยชาติและเพื่อพระศาสนจักร พ่อนึกถึงภาพเด็กๆ หลายคนที่มีความสุขในระหว่างที่พ่อเดินทางเยือนเอเชีย พวกเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวาและความกระตือรือร้น ในทางกลับกัน พ่อยังคิดถึงเด็กๆ จำนวนมากทั่วโลกที่กำลังดำเนินชีวิตอยู่ในความยากจนและความต้องการความช่วยเหลืออีกมาก พ่ออยากย้ำว่า เราสามารถประเมินสังคมนั้นๆ ได้จากวิธีการที่สังคมดังกล่าวปฏิบัติต่อเด็กๆ ได้เช่นกัน
"พวกเราเห็นพระเยซูอยู่ในตัวของเด็กๆ ดังที่พระองค์ทรงบังเกิดเป็นทารกที่เมืองเบ็ธเลเฮม สิ่งนี้คือเครื่องเตือนใจที่ล้ำค่าถึงความจริงที่ว่า การจะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้านั้น เราต้องอย่ามองว่าตัวเองไม่ต้องพึ่งพาใคร แต่เราต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น ต้องการความรัก และต้องการการอภัยด้วยเช่นกัน
"เด็กๆ ยังเป็นเครื่องเตือนใจเราว่า พวกเราเป็นลูกชายและลูกสาว(ของพระเจ้า)อยู่เสมอ นี่คืออัตลักษณ์ที่เตือนเราว่าเราได้รับพระพรแห่งชีวิต นอกจากนี้ ยังมีพระพรอีกมากที่เด็กๆ นำมามอบให้มนุษยชาติ หนึ่งในพระพรของเด็กๆ ที่ท้าทายเราก็คือ เราต้องมองสิ่งต่างๆ ด้วยความเรียบง่าย ใสสะอาด และมองด้วยหัวใจที่มีความวางใจ
"เด็กๆ นำชีวิต ความชื่นชมยินดี ความหวัง และแน่นอน พวกเขานำปัญหามาให้เรา! แต่ชีวิตก็เป็นแบบนี้แหละ มันจริงอยู่ที่พวกเขานำความกังวลใจและบางครั้งก็มีปัญหามากมาย แต่สังคมที่เปี่ยมด้วยความกังวลและปัญหาแบบนี้ ย่อมดีกว่าสังคมที่โศกเศร้าเพราะไม่มีเด็กๆ! เมื่อเราเห็นสังคมที่มีอัตราการเกิดของเด็กแค่ 1 เปอร์เซ็นต์หรือต่ำกว่านั้น เราสามารถพูดได้เลยว่า สังคมนั้นกำลังซึมเศร้า เพราะพวกเขาไม่มีลูกหลานนั่นเอง
"พ่อจึงอยากเชิญชวนเราให้ต้อนรับเด็กๆ ทุกคน พวกเขานำชีวิตชีวา ความชื่นชมยินดี และความหวังมาให้กับโลก มันจะเศร้าขนาดไหนถ้าโลกเราไม่มีเด็กๆ อยู่เลย" พระสันตะปาปา ตรัสในตอนท้าย
ประมวลภาพ: การเข้าเฝ้าทั่วไป
Read More: Vatican Radio
Comments
Post a Comment