โป๊ปฟรังซิส: "ถ้าเรานำความยากจนออกจากพระวรสาร เราจะไม่มีวันเข้าใจสิ่งที่พระเยซูสอนได้เลย"
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงย้ำพระสงฆ์และนักบวช ความยากจนคือหัวใจของพระวรสาร ถ้าเรานำความยากไร้ออกไปจากพระวรสาร พวกเราจะไม่สามารถเข้าใจสารทั้งหมดของพระเยซูคริสต์ได้เลย ทรงเตือน ถ้าพระสงฆ์และนักบวชปฏิเสธพระหรรษทานแห่งการคืนดี เราจะไม่มีวันประกาศพระวรสารได้เลย ทรงกระตุ้นพระสงฆ์และนักบวชให้ออกไปช่วยเหลือเยาวชนที่กำลังประสบปัญหาในชีวิต จงทำตัวเป็นเพื่อนของเขา เพื่อให้เขาสัมผัสได้ว่า พระศาสนจักรคือเพื่อนในยามที่เขาประสบปัญหา





ช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาพร้อมกับบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชชาวฟิลิปปินส์ ภายในอาสนวิหารแม่พระคอนเซ็ปชัญ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมิสซานี้ จำกัดจำนวนผู้ร่วมพิธีแค่ 2,000 คน เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ดังนั้น ผู้ร่วมพิธีจึงมีแต่พระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชชาวฟิลิปปินส์เท่านั้น
สำหรับบทเทศน์ในพิธีนี้ พระสันตะปาปาทรงเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงข้อความจากพระวรสารที่พระเยซูทรงถามบรรดาศิษย์ว่า "ท่านรักเราไหม ... ถ้ารัก จงเลี้ยงดูแกะของเรา" แต่ว่า พระสันตะปาปาทรงพูดคำว่า "ท่านรักเราไหม" แล้วทรงทิ้งช่วงไปสักพัก พระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชที่ร่วมพิธีจึงตอบพร้อมกันว่า "รัก" พระสันตะปาปาจึงตอบกลับว่า "ขอบคุณ" ทำให้ทุกคนหัวเราะชอบใจกันใหญ่
จากนั้น พระสันตะปาปาทรงสอนต่อไปว่า "การอภิบาลทุกอย่างเกิดจากความรัก ชีวิตพระสงฆ์และนักบวชคือเครื่องหมายแห่งความรักที่คืนดีกับพระเจ้า เหมือนอย่างที่นักบุญเทเรซากล่าวไว้ ในความหลากหลายของกระแสเรียก พวกเราแต่ละคนถูกเรียกมาให้เป็นความรักที่อยู่ในหัวใจของพระศาสนจักร
"วันนี้ พวกเราทุกคนต่างซาบซึ้งในมรดกที่บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชรุ่นก่อนๆ ได้มอบไว้ให้ พวกท่านเหล่านี้ได้หลอมรวมสังคมให้เป็นแรงบันดาลใจด้วยสารจากพระวรสารที่เปี่ยมด้วยความรักความเมตตา การให้อภัย และการเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อรับใช้ความดี วันนี้เช่นกัน พวกเราทุกคนจะสานต่องานแห่งความรักนี้ เราจะทำให้ได้เหมือนกับบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชรุ่นก่อนๆ เพราะพวกเราทุกคนถูกเรียกมาให้เป็นสะพาน และถูกเรียกมาให้เลี้ยงดูฝูงแกะของพระคริสตเจ้า
"พันธกิจของพวกเราคือการอภิบาลแห่งการคืนดี พวกเราประกาศข่าวดีแห่งความรักอันไม่มีสิ้นสุดของพระเจ้า พวกเราประกาศพระเมตตาและความเห็นอกเห็นใจที่พระคริสตเจ้ามีต่อมนุษย์ทุกคน พวกเราประกาศความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร เพราะพระวรสารคือพระสัญญาแห่งพระหรรษทานของพระเจ้า และสิ่งนี้ (พระหรรษทานของพระเจ้า) สามารถบันดาลการสร้างความยุติธรรมที่แท้จริงได้ พระวรสารได้รับการเทศนาสั่งสอนเพื่อให้เกิดการกลับใจ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรา
"ฉะนั้น พระศาสนจักรในฟิลิปปินส์ถูกเรียกมาเพื่อรับรู้และต่อสู้กับเหตุแห่งความไม่เสมอภาคและความไม่ยุติธรรม พระวรสารได้เรียกคริสตชนทุกคนให้ดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ มีศีลธรรมจรรยา และห่วงใยต่อคุณความดีทั้งปวง พระวรสารยังเรียกร้องคริสตชนให้สร้างวงจรของความซื่อตรง ซึ่งสามารถแผ่ขยายออกเพื่อสวมกอด(ทุกคน)และแปรเปลี่ยนสังคม
"ในฐานะที่เราเป็นผู้แทนของพระคริสตเจ้า พวกเราต้องเป็นคนแรกที่ต้อนรับพระหรรษทานแห่งการคืนดีให้เข้ามาสู่จิตใจของเรา เราจะสามารถประกาศฤทธานุภาพแห่งไม้กางเขนได้อย่างไรกัน ถ้าหากว่า เรายังปฏิเสธที่จะให้พระวาจาของพระเจ้าเข้ามาปลุกให้เราตื่นจากการหลงใหลในบางสิ่งบางอย่าง
"สำหรับพวกพระสงฆ์และนักบวช การดำเนินชีวิตด้วยการไตร่ตรองความยากจนของพระคริสตเจ้า ผู้ซึ่งทั้งชีวิตของพระองค์เองได้ให้ความสำคัญกับการทำตามพระประสงค์ของพระบิดา ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก มีเพียงการเป็นผู้ยากไร้เท่านั้นที่เราจะสามารถกล่าวถึงตัวเองได้ว่า เราเป็นผู้ต่ำต้อยที่สุดในบรรดาพี่น้องชายหญิงของเรา
"ความยากไร้ ความยากจนคือศูนย์กลางของพระวรสาร นี่คือหัวใจของพระวรสาร ถ้าเรานำความยากไร้ออกไปจากพระวรสาร พวกเราจะไม่สามารถเข้าใจสารทั้งหมดของพระเยซูคริสต์ได้เลย!
"นอกจากนี้ พ่อขอให้พวกท่านออกไปอยู่กับบรรดาเยาวชนที่กำลังสับสนกับชีวิต จงทำให้พวกเขาเห็นว่าพระศาสนจักรคือเพื่อนบนการเดินทางของเขา จงออกไปอยู่กับทุกคนที่ประสบปัญหาด้านจิตใจ จงประกาศความงดงามและความจริงแห่งพระวรสารให้กับพวกเขา" พระสันตะปาปา ตรัสในตอนท้าย
ประมวลภาพ: พระสันตะปาปาถวายมิสซาที่อาสนวิหารประจำกรุงมะนิลา
Read More: Vatican Radio





ช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาพร้อมกับบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชชาวฟิลิปปินส์ ภายในอาสนวิหารแม่พระคอนเซ็ปชัญ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมิสซานี้ จำกัดจำนวนผู้ร่วมพิธีแค่ 2,000 คน เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ดังนั้น ผู้ร่วมพิธีจึงมีแต่พระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชชาวฟิลิปปินส์เท่านั้น
สำหรับบทเทศน์ในพิธีนี้ พระสันตะปาปาทรงเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงข้อความจากพระวรสารที่พระเยซูทรงถามบรรดาศิษย์ว่า "ท่านรักเราไหม ... ถ้ารัก จงเลี้ยงดูแกะของเรา" แต่ว่า พระสันตะปาปาทรงพูดคำว่า "ท่านรักเราไหม" แล้วทรงทิ้งช่วงไปสักพัก พระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชที่ร่วมพิธีจึงตอบพร้อมกันว่า "รัก" พระสันตะปาปาจึงตอบกลับว่า "ขอบคุณ" ทำให้ทุกคนหัวเราะชอบใจกันใหญ่
จากนั้น พระสันตะปาปาทรงสอนต่อไปว่า "การอภิบาลทุกอย่างเกิดจากความรัก ชีวิตพระสงฆ์และนักบวชคือเครื่องหมายแห่งความรักที่คืนดีกับพระเจ้า เหมือนอย่างที่นักบุญเทเรซากล่าวไว้ ในความหลากหลายของกระแสเรียก พวกเราแต่ละคนถูกเรียกมาให้เป็นความรักที่อยู่ในหัวใจของพระศาสนจักร
"วันนี้ พวกเราทุกคนต่างซาบซึ้งในมรดกที่บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชรุ่นก่อนๆ ได้มอบไว้ให้ พวกท่านเหล่านี้ได้หลอมรวมสังคมให้เป็นแรงบันดาลใจด้วยสารจากพระวรสารที่เปี่ยมด้วยความรักความเมตตา การให้อภัย และการเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อรับใช้ความดี วันนี้เช่นกัน พวกเราทุกคนจะสานต่องานแห่งความรักนี้ เราจะทำให้ได้เหมือนกับบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชรุ่นก่อนๆ เพราะพวกเราทุกคนถูกเรียกมาให้เป็นสะพาน และถูกเรียกมาให้เลี้ยงดูฝูงแกะของพระคริสตเจ้า
"พันธกิจของพวกเราคือการอภิบาลแห่งการคืนดี พวกเราประกาศข่าวดีแห่งความรักอันไม่มีสิ้นสุดของพระเจ้า พวกเราประกาศพระเมตตาและความเห็นอกเห็นใจที่พระคริสตเจ้ามีต่อมนุษย์ทุกคน พวกเราประกาศความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร เพราะพระวรสารคือพระสัญญาแห่งพระหรรษทานของพระเจ้า และสิ่งนี้ (พระหรรษทานของพระเจ้า) สามารถบันดาลการสร้างความยุติธรรมที่แท้จริงได้ พระวรสารได้รับการเทศนาสั่งสอนเพื่อให้เกิดการกลับใจ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรา
"ฉะนั้น พระศาสนจักรในฟิลิปปินส์ถูกเรียกมาเพื่อรับรู้และต่อสู้กับเหตุแห่งความไม่เสมอภาคและความไม่ยุติธรรม พระวรสารได้เรียกคริสตชนทุกคนให้ดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ มีศีลธรรมจรรยา และห่วงใยต่อคุณความดีทั้งปวง พระวรสารยังเรียกร้องคริสตชนให้สร้างวงจรของความซื่อตรง ซึ่งสามารถแผ่ขยายออกเพื่อสวมกอด(ทุกคน)และแปรเปลี่ยนสังคม
"ในฐานะที่เราเป็นผู้แทนของพระคริสตเจ้า พวกเราต้องเป็นคนแรกที่ต้อนรับพระหรรษทานแห่งการคืนดีให้เข้ามาสู่จิตใจของเรา เราจะสามารถประกาศฤทธานุภาพแห่งไม้กางเขนได้อย่างไรกัน ถ้าหากว่า เรายังปฏิเสธที่จะให้พระวาจาของพระเจ้าเข้ามาปลุกให้เราตื่นจากการหลงใหลในบางสิ่งบางอย่าง
"สำหรับพวกพระสงฆ์และนักบวช การดำเนินชีวิตด้วยการไตร่ตรองความยากจนของพระคริสตเจ้า ผู้ซึ่งทั้งชีวิตของพระองค์เองได้ให้ความสำคัญกับการทำตามพระประสงค์ของพระบิดา ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก มีเพียงการเป็นผู้ยากไร้เท่านั้นที่เราจะสามารถกล่าวถึงตัวเองได้ว่า เราเป็นผู้ต่ำต้อยที่สุดในบรรดาพี่น้องชายหญิงของเรา
"ความยากไร้ ความยากจนคือศูนย์กลางของพระวรสาร นี่คือหัวใจของพระวรสาร ถ้าเรานำความยากไร้ออกไปจากพระวรสาร พวกเราจะไม่สามารถเข้าใจสารทั้งหมดของพระเยซูคริสต์ได้เลย!
"นอกจากนี้ พ่อขอให้พวกท่านออกไปอยู่กับบรรดาเยาวชนที่กำลังสับสนกับชีวิต จงทำให้พวกเขาเห็นว่าพระศาสนจักรคือเพื่อนบนการเดินทางของเขา จงออกไปอยู่กับทุกคนที่ประสบปัญหาด้านจิตใจ จงประกาศความงดงามและความจริงแห่งพระวรสารให้กับพวกเขา" พระสันตะปาปา ตรัสในตอนท้าย
ประมวลภาพ: พระสันตะปาปาถวายมิสซาที่อาสนวิหารประจำกรุงมะนิลา
Read More: Vatican Radio
Comments
Post a Comment