โป๊ปฟรังซิส: "คริสตชนแตกหักกันเพราะความอิจฉาและนินทากัน"
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส พระสังฆราชแห่งกรุงโรม ทรงชี้ กลุ่มคริสตชนมักแตกแยกเพราะความอิจฉาและซุบซิบนินทา ทรงย้ำ สังคมใดที่มีแต่ความอิจฉาริษยา สังคมนั้นจะพบกับคือความแตกแยกเสมอ เพราะนี่คือยาพิษร้ายที่เราพบได้ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมตั้งแต่สมัย "กาอิน" ฆ่า "อาเบล"
ช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาเช้าในวัดน้อยประจำหอพักซางตา มาร์ธา มิสซานี้ พระสันตะปาปาตรัสสอนว่า:
- ในบทอ่านประจำวันนี้จากหนังสือซามูเอล (1 ซมอ 18:6-9;19:1-7) เราได้เห็นชัยชนะของชาวอิสราเอลเหนือชาวฟิลิสเตีย ซึ่งทั้งหมดต้องขอบคุณความกล้าหาญของชายหนุ่มนามว่า "เดวิด"
- อย่างไรก็ตาม ชัยชนะและความชื่นชมยินดีครั้งนี้ของกษัตริย์ซาอูล ถูกแปรเปลี่ยนเป็นความอิจฉาริษยา เพียงเพราะตัวเองได้ยินบรรดาผู้หญิงร้องเพลงสรรเสริญเดวิดที่ฆ่าโกไลแอ็ธ
- ความรู้สึกของกษัตริย์ซาอูลเหมือนกับตอนที่ "กาอิน" ลงมือฆ่า "อาเบล" ทุกอย่างเกิดจากความอิจฉาริษยา กษัตริย์ซาอูลจึงต้องการฆ่าเดวิด นี่แหละคือความอิจฉาในจิตใจของเรา
- ความอิจฉาริษยานำไปสู่การฆาตกรรม มันคือประตูที่เปิดให้ปีศาจเข้ามายังโลก ความอิจฉาริษยาเปิดประตูให้ความชั่วเข้ามาในจิตใจและในสังคมของเรา
- เมื่อสมาชิกในกลุ่มคริสตชนต้องทนทุกข์จากความอิจฉาริษยา พ่ออยากเตือนสติว่า สังคมนั้นจะพบจุดจบด้วยความแตกแยก คนหนึ่งจะลุกขึ้นสู้กับอีกคนหนึ่ง นี่คือยาพิษร้ายที่เราพบได้ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมตั้งแต่สมัยกาอิน
- ในจิตใจของคนที่ติดเชื้อโรคอิจฉาริษยา มีอยู่ 2 สิ่ง หนึ่งคือความอาฆาตแค้น และสองคือการซุบซิบนินทา
- คนที่อิจฉาคนอื่นคือคนที่อาฆาตแค้น เขาคือคนที่ไม่รู้จักร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า เขาไม่รู้ว่าความชื่นชมยินดีคืออะไร คนประเภทนี้ถูกชักจูงไปพบกับความแค้น ความเคียดแค้นนี้จะกระจายไปยังสังคมทั้งหมด
- ส่วนอีกประเภทนั้น ความอิจฉาริษยาจะทำให้เกิดข่าวลือและการซุบซิบนินทา ความอิจฉาริษยายังนำไปสู่การดูถูกคนอื่น นี่คือเครื่องมือที่พยายามยกตนให้สูงขึ้น สังเกตดูซิ การนินทามักจะเกิดขึ้นเพราะความอิจฉาริษยาแทบทั้งนั้น มันทำลายสังคมของเรา และมันยังเป็นอาวุธของปีศาจด้วย
- คิดดูนะ มีกลุ่มคริสตชนกี่กลุ่มแล้วที่ต้องแตกแยกเพราะเรื่องพวกนี้ พวกเราต้องพบความแตกแยกเพราะคนในกลุ่มของเราตกเป็นเหยื่อความอิจฉาริษยาภายในจิตใจ มันน่าเศร้ามากๆนะ
- ดังนั้น ในสัปดาห์ภาวนาเพื่อเอกภาพคริสตชน พ่ออยากให้เมล็ดพันธ์ของความอิจฉาหมดไปจากสังคมของเรา แต่ขอให้เรามองไปข้างหน้า ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าด้วยความชื่นชมยินดี
Read More: Vatican Radio
ช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาเช้าในวัดน้อยประจำหอพักซางตา มาร์ธา มิสซานี้ พระสันตะปาปาตรัสสอนว่า:
- ในบทอ่านประจำวันนี้จากหนังสือซามูเอล (1 ซมอ 18:6-9;19:1-7) เราได้เห็นชัยชนะของชาวอิสราเอลเหนือชาวฟิลิสเตีย ซึ่งทั้งหมดต้องขอบคุณความกล้าหาญของชายหนุ่มนามว่า "เดวิด"
- อย่างไรก็ตาม ชัยชนะและความชื่นชมยินดีครั้งนี้ของกษัตริย์ซาอูล ถูกแปรเปลี่ยนเป็นความอิจฉาริษยา เพียงเพราะตัวเองได้ยินบรรดาผู้หญิงร้องเพลงสรรเสริญเดวิดที่ฆ่าโกไลแอ็ธ
- ความรู้สึกของกษัตริย์ซาอูลเหมือนกับตอนที่ "กาอิน" ลงมือฆ่า "อาเบล" ทุกอย่างเกิดจากความอิจฉาริษยา กษัตริย์ซาอูลจึงต้องการฆ่าเดวิด นี่แหละคือความอิจฉาในจิตใจของเรา
- ความอิจฉาริษยานำไปสู่การฆาตกรรม มันคือประตูที่เปิดให้ปีศาจเข้ามายังโลก ความอิจฉาริษยาเปิดประตูให้ความชั่วเข้ามาในจิตใจและในสังคมของเรา
- เมื่อสมาชิกในกลุ่มคริสตชนต้องทนทุกข์จากความอิจฉาริษยา พ่ออยากเตือนสติว่า สังคมนั้นจะพบจุดจบด้วยความแตกแยก คนหนึ่งจะลุกขึ้นสู้กับอีกคนหนึ่ง นี่คือยาพิษร้ายที่เราพบได้ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมตั้งแต่สมัยกาอิน
- ในจิตใจของคนที่ติดเชื้อโรคอิจฉาริษยา มีอยู่ 2 สิ่ง หนึ่งคือความอาฆาตแค้น และสองคือการซุบซิบนินทา
- คนที่อิจฉาคนอื่นคือคนที่อาฆาตแค้น เขาคือคนที่ไม่รู้จักร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า เขาไม่รู้ว่าความชื่นชมยินดีคืออะไร คนประเภทนี้ถูกชักจูงไปพบกับความแค้น ความเคียดแค้นนี้จะกระจายไปยังสังคมทั้งหมด
- ส่วนอีกประเภทนั้น ความอิจฉาริษยาจะทำให้เกิดข่าวลือและการซุบซิบนินทา ความอิจฉาริษยายังนำไปสู่การดูถูกคนอื่น นี่คือเครื่องมือที่พยายามยกตนให้สูงขึ้น สังเกตดูซิ การนินทามักจะเกิดขึ้นเพราะความอิจฉาริษยาแทบทั้งนั้น มันทำลายสังคมของเรา และมันยังเป็นอาวุธของปีศาจด้วย
- คิดดูนะ มีกลุ่มคริสตชนกี่กลุ่มแล้วที่ต้องแตกแยกเพราะเรื่องพวกนี้ พวกเราต้องพบความแตกแยกเพราะคนในกลุ่มของเราตกเป็นเหยื่อความอิจฉาริษยาภายในจิตใจ มันน่าเศร้ามากๆนะ
- ดังนั้น ในสัปดาห์ภาวนาเพื่อเอกภาพคริสตชน พ่ออยากให้เมล็ดพันธ์ของความอิจฉาหมดไปจากสังคมของเรา แต่ขอให้เรามองไปข้างหน้า ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าด้วยความชื่นชมยินดี
Read More: Vatican Radio
Comments
Post a Comment