ฟาติมาสาร - ฟรังซิสสไตล์ (14 เมษายน 2013)
สัปดาห์ที่แล้ว ผมหายตัวไปจากหน้ากระดาษเนื่องจากติดภารกิจสำคัญบางอย่าง ซึ่งคาดว่า น่าจะมีการหายตัวไปอีก 2-3 ครั้งตั้งแต่ช่วงจากนี้ไปถึงเดือนพฤษภาคม จึงเรียนแจ้งผู้อ่านทุกท่านได้ทราบไว้ก่อน เผื่อจะสงสัยกันว่าผมหายตัวไปไหน ...
ในส่วนเรื่องราวของพระศาสนจักรคาทอลิก ต้องยอมรับว่า กระแสฟีเว่อร์สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ยังร้อนแรงแบบสุดๆ ตอนนี้ ค่าเฉลี่ยในพิธีต่างๆที่พระสันตะปาปาเป็นประธานพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก อาทิ การเข้าเฝ้าทั่วไปซึ่งจะจัดทุกวันพุธที่วาติกัน ปกติจะมีคนมาเฝ้าพระสันตะปาปาประมาณ 8,000 – 25,000 คน แต่ในยุคของพระสันตะปาปาฟรังซิส ปรากฏว่า มีคนมาเข้าเฝ้าสูงถึง 30,000 – 70,000 คนต่อครั้ง ส่วนการสวดทูตสวรรค์แจ้งข่าวทุกเที่ยงวันอาทิตย์ (ถ้าเป็นปาสกาจะเรียกสวดราชินีแห่งสวรรค์) ปกติค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 25,000 คน แต่ในยุคพระสันตะปาปาฟรังซิส ตัวเลขพุ่งสูงถึง 70,000 – 250,000 คน ซึ่งเรียกได้ว่า กระแสฟีเว่อร์พระสันตะปาปาองค์นี้สุดๆจริงๆ
สำหรับเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับพระสันตะปาปาองค์นี้ยังมีให้ติดตามต่อเนื่อง นอกจากการปฏิเสธการสวมรองเท้าสีแดงอันเป็นรองเท้าพระสันตะปาปา, การปฏิเสธที่จะไปนอนในวังพระสันตะปาปา แต่เลือกห้องนอนเล็กๆในหอพักซางตา มาร์ธา และอื่นๆอีกมากมาย สื่อมวลชนต่างประเทศต่างเรียกการตัดสินใจแบบนี้ว่า “ฟรังซิสสไตล์” ว่าแล้ว ผมขอสรุปข้อมูลที่มีการเปิดเผยออกมาว่า ฟรังซิสสไตล์มีอะไรแปลกใหม่เพิ่มเติมบ้าง ดังนี้
เหตุผลที่ไม่พำนักในวังพระสันตะปาปา – เรื่องนี้ ได้รับการเฉลยจาก “คุณพ่อฮอร์เก้ ชิชินโซล่า” สงฆ์ชาวอาร์เจนไตน์ผู้เป็นสหายคนสนิทของพระสันตะปาปา ฟรังซิส คุณพ่อชิชินโซล่าเผยว่า สาเหตุที่พระสันตะปาปายังพักที่ห้องพักเล็กๆในหอพักซางตา มาร์ธา แทนที่จะเป็นวังพระสันตะปาปา เป็นเพราะ “พระสันตะปาปาต้องการอยู่แบบหมู่คณะ(แบบจิตตารมณ์นักบวช) พระองค์ไม่ต้องการอยู่แบบโดดเดี่ยวตัวใครตัวมัน พระองค์อยากจะเสวยอาหารแบบมีเพื่อนร่วมโต๊ะและพูดคุยแบ่งปันเรื่องราวประจำวันกัน”
นอกจากนี้ คุณพ่อชิชินโซล่ายังเผยว่า เป็นความจริงที่พระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงอุทานออกมาทันทีที่ได้เข้าวังพระสันตะปาปาเป็นครั้งแรกว่า “โอ .. ห้องนี้(วังพระสันตะปาปา)ใหญ่เกินไป ถึงขนาดจุคนได้ 300 คนเลยนะ!! พ่อไม่ต้องการที่พักใหญ่ขนาดนี้หรอก”
เริ่มปรับบุคลากรในโรมันคูเรีย – ก่อนการเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ ทุกคนทราบกันดีว่า ปัญหาหนักสาหัสสุดๆอยู่ในโรมันคูเรีย (องค์กรบริหารพระศาสนจักรส่วนกลาง ... โรมันคูเรียเหมือนรัฐบาลกลาง ส่วนสังฆมณฑลต่างๆคือรัฐบาลท้องถิ่น) ล่าสุด พระสันตะปาปา ฟรังซิส ลงมือจัดการเปลี่ยนบุคลากรตำแหน่งแรกแล้ว โดยทรงแต่งตั้งคุณพ่อ โฆเซ่ โรดริเกซ การ์บาโย่ อธิการเจ้าคณะฟรังซิสกัน ให้เป็นเลขาธิการสมณกระทรวงเพื่อนักบวช (เป็นการแต่งตั้งแบบเซอร์ไพรส์ทุกฝ่าย เพราะปกติ พระสันตะปาปาจะไม่เลือกเจ้าคณะมาทำหน้าที่ แต่จะเป็นพวกสมาชิกคณะ แต่งานนี้ เลือกเจ้าคณะ แสดงให้เห็นว่า ต้องการสะสางปัญหาในคูเรียจริงๆ)
ปัจจุบัน คุณพ่อการ์บาโย่ อายุ 59 ปี และเป็นผู้ดูแลสมาชิกฟรังซิสกันกว่า 15,000 คนใน 113 ประเทศทั่วโลก การแต่งตั้งดังกล่าวจะทำให้คุณพ่อการ์บาโย่ ต้องเข้ารับการอภิเษกเป็นพระอัครสังฆราชด้วย (มีหลายเสียงวิเคราะห์ว่า ยุคนี้ พระสันตะปาปาจะนำบุคลากรจาก “คณะนักบวชที่เคร่งครัดมากๆ” มาวางระบบใหม่ให้กับโรมันคูเรีย .. จะจริงหรือไม่ ต้องติดตาม)
มีเลขาฯแล้ว แต่ต้องการทำทุกอย่างด้วยตัวเอง – ในที่สุด สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงมีเลขาฯแล้ว นั่นคือ “มองซินญอร์ อัลเฟร็ด ซัวเร็บ” ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขาฯในสมัยพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 และยังเคยทำงานในวังพระสันตะปาปายุคบุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2 ด้วย เรียกได้ว่า เป็นบุรุษผู้ถวายงานรับใช้ 3 พระสันตะปาปาอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม การจัดตารางเวลาให้คนเข้าพบและตารางเวลาอื่นๆ พระสันตะปาปา ฟรังซิส จะเป็นคนทำเองทั้งหมด เรียกได้ว่า เลขาฯทำหน้าที่แค่คอยดูแลเรื่องเอกสารเท่านั้น สำหรับตารางเวลาประจำวันคร่าวๆของพระสันตะปาปา ฟรังซิส ก็คือ ตื่นนอนตอนตี 4 (ตื่นเองไม่ต้องมีนาฬิกาปลุก) จากนั้น หลังอาหารเที่ยง พระองค์จะนอนกลางวันประมาณ 40 นาที และจะเข้านอนตอน 5 ทุ่ม
ไม่ร้องเพลงระหว่างมิสซา – หากได้ดูการถ่ายทอดสดมิสซาที่พระสันตะปาปา ฟรังซิส เป็นประธาน จะพบว่าพระองค์ไม่เคยร้องเพลงในมิสซาเลย ยกเว้นเพลงข้าแต่พระบิดา ความสงสัยนี้ดังขึ้นเรื่อยๆ จนคุณพ่อเฟเดริโก้ ลอมบาร์ดี้ ผู้อำนวยการศูนย์ข่าววาติกัน ต้องออกมาชี้แจงว่า “พวกเราชาวเยสุอิต (พระสันตะปาปาก็เยสุอิต) ขึ้นชื่ออยู่แล้วว่า ไม่เก่งเรื่องการขับร้องเพลงในพิธีกรรม พระสันตะปาปาฟรังซิสก็เช่นกัน พระองค์ก็ไม่ถนัดเรื่องแบบนี้ มันไม่จริงเลยที่มีข่าวลือว่า พระสันตะปาปาทรงเหลือปอดข้างเดียวและทำให้พระองค์เหนื่อยหากจะร้องเพลงในมิสซา อย่าลืมว่า พระสันตะปาปาฟรังซิสไม่ใช่พระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ผู้ทรงมีเสียงอันไพเราะแบบนักแสดง”
พูดแต่ภาษาอิตาเลี่ยน – นอกจากเรื่องร้องเพลง คนยังสงสัยอีกว่า ทำไมพระสันตะปาปาพูดแต่ภาษาอิตาเลี่ยนภาษาเดียว เฉพาะอย่างยิ่งในการประทานพรแด่โรมและโลกตอนวันปาสกา ตามธรรมเนียมปฏิบัติ พระสันตะปาปาจะอวยพรเป็นภาษาต่างๆกว่า 60 ภาษา (รวมภาษาไทยด้วย) แต่ปีนี้ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวแค่ภาษาเดียวคืออิตาเลี่ยน คนจึงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น
เรื่องนี้ คุณพ่อเฟเดริโก้ ลอมบาร์ดี้ ผู้อำนวยการศูนย์ข่าววาติกัน แถลงว่า “พระสันตะปาปาทรงใช้ภาษาอิตาเลี่ยนได้คล่องแคล่ว เพราะครอบครัวพระองค์เป็นชาวอิตาเลี่ยนอพยพ(ไปอาร์เจนติน่า) พระองค์ทรงพูดภาษาฝรั่งเศสได้ค่อนข้างดี เช่นเดียวกับภาษาเยอรมัน (เพราะเรียนที่เยอรมัน) แต่กับภาษาอังกฤษ พระสันตะปาปาทรงยอมรับว่า นี่คือภาษาที่พระองค์มีปัญหามากที่สุด เฉพาะอย่างยิ่งการออกเสียง”
“ส่วนในการประทานพรแด่โรมและโลก พระสันตะปาปาทรงขอตรัสอวยพรแค่ภาษาเดียวคืออิตาเลี่ยน เพราะทรงไม่ถนัดการตรัสภาษาอื่นๆ พระองค์ยอมเสียสละด้วยการไม่อวยพรภาษาแม่คือภาษาสเปน เพื่อไม่ให้สัตบุรุษที่ใช้ภาษาอื่นๆที่ไม่ใช่ภาษาแม่เกิดความน้อยใจ”
ต้องเด็ดขาดต่อปัญหาสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศ – สุดท้าย สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงต้อนรับพระอัครสังฆราช แกร์ฮาร์ด ลุดวิค มุลเลอร์ ประธานสมณกระทรวงหลักความเชื่อ ที่มาเข้าเฝ้า โดยหน่วยงานนี้สำคัญมากในวาติกันประดุจกระทรวงมหาดไทย เพราะต้องดูแลหลักความเชื่อและกฏระเบียบหลายอย่างในพระศาสนจักร อาทิ การปราบปรามสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศ
โอกาสนี้ พระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงรับสั่งพระอัครสังฆราชมุลเลอร์ว่า “ขอให้สานต่อพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ที่ต้องการให้มีการจัดการอย่างเด็ดขาดต่อการล่วงละเมิดทางเพศ สำคัญสุดคือเราต้องส่งเสริมแนวทางการปกป้องเด็ก และช่วยคนจำนวนมากที่เคยทนทุกข์จากความรุนแรงประเภทนี้ ทั้งนี้ การให้คำสัญญาของสภาพระสังฆราชคาทอลิกประเทศต่างๆในการวางกฏเกณฑ์และปฏิบัติต่อปัญหาเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นประจักษ์พยานถึงพระศาสนจักรและความโปร่งใสของเรา”
ในส่วนเรื่องราวของพระศาสนจักรคาทอลิก ต้องยอมรับว่า กระแสฟีเว่อร์สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ยังร้อนแรงแบบสุดๆ ตอนนี้ ค่าเฉลี่ยในพิธีต่างๆที่พระสันตะปาปาเป็นประธานพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก อาทิ การเข้าเฝ้าทั่วไปซึ่งจะจัดทุกวันพุธที่วาติกัน ปกติจะมีคนมาเฝ้าพระสันตะปาปาประมาณ 8,000 – 25,000 คน แต่ในยุคของพระสันตะปาปาฟรังซิส ปรากฏว่า มีคนมาเข้าเฝ้าสูงถึง 30,000 – 70,000 คนต่อครั้ง ส่วนการสวดทูตสวรรค์แจ้งข่าวทุกเที่ยงวันอาทิตย์ (ถ้าเป็นปาสกาจะเรียกสวดราชินีแห่งสวรรค์) ปกติค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 25,000 คน แต่ในยุคพระสันตะปาปาฟรังซิส ตัวเลขพุ่งสูงถึง 70,000 – 250,000 คน ซึ่งเรียกได้ว่า กระแสฟีเว่อร์พระสันตะปาปาองค์นี้สุดๆจริงๆ
สำหรับเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับพระสันตะปาปาองค์นี้ยังมีให้ติดตามต่อเนื่อง นอกจากการปฏิเสธการสวมรองเท้าสีแดงอันเป็นรองเท้าพระสันตะปาปา, การปฏิเสธที่จะไปนอนในวังพระสันตะปาปา แต่เลือกห้องนอนเล็กๆในหอพักซางตา มาร์ธา และอื่นๆอีกมากมาย สื่อมวลชนต่างประเทศต่างเรียกการตัดสินใจแบบนี้ว่า “ฟรังซิสสไตล์” ว่าแล้ว ผมขอสรุปข้อมูลที่มีการเปิดเผยออกมาว่า ฟรังซิสสไตล์มีอะไรแปลกใหม่เพิ่มเติมบ้าง ดังนี้
เหตุผลที่ไม่พำนักในวังพระสันตะปาปา – เรื่องนี้ ได้รับการเฉลยจาก “คุณพ่อฮอร์เก้ ชิชินโซล่า” สงฆ์ชาวอาร์เจนไตน์ผู้เป็นสหายคนสนิทของพระสันตะปาปา ฟรังซิส คุณพ่อชิชินโซล่าเผยว่า สาเหตุที่พระสันตะปาปายังพักที่ห้องพักเล็กๆในหอพักซางตา มาร์ธา แทนที่จะเป็นวังพระสันตะปาปา เป็นเพราะ “พระสันตะปาปาต้องการอยู่แบบหมู่คณะ(แบบจิตตารมณ์นักบวช) พระองค์ไม่ต้องการอยู่แบบโดดเดี่ยวตัวใครตัวมัน พระองค์อยากจะเสวยอาหารแบบมีเพื่อนร่วมโต๊ะและพูดคุยแบ่งปันเรื่องราวประจำวันกัน”
นอกจากนี้ คุณพ่อชิชินโซล่ายังเผยว่า เป็นความจริงที่พระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงอุทานออกมาทันทีที่ได้เข้าวังพระสันตะปาปาเป็นครั้งแรกว่า “โอ .. ห้องนี้(วังพระสันตะปาปา)ใหญ่เกินไป ถึงขนาดจุคนได้ 300 คนเลยนะ!! พ่อไม่ต้องการที่พักใหญ่ขนาดนี้หรอก”
เริ่มปรับบุคลากรในโรมันคูเรีย – ก่อนการเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ ทุกคนทราบกันดีว่า ปัญหาหนักสาหัสสุดๆอยู่ในโรมันคูเรีย (องค์กรบริหารพระศาสนจักรส่วนกลาง ... โรมันคูเรียเหมือนรัฐบาลกลาง ส่วนสังฆมณฑลต่างๆคือรัฐบาลท้องถิ่น) ล่าสุด พระสันตะปาปา ฟรังซิส ลงมือจัดการเปลี่ยนบุคลากรตำแหน่งแรกแล้ว โดยทรงแต่งตั้งคุณพ่อ โฆเซ่ โรดริเกซ การ์บาโย่ อธิการเจ้าคณะฟรังซิสกัน ให้เป็นเลขาธิการสมณกระทรวงเพื่อนักบวช (เป็นการแต่งตั้งแบบเซอร์ไพรส์ทุกฝ่าย เพราะปกติ พระสันตะปาปาจะไม่เลือกเจ้าคณะมาทำหน้าที่ แต่จะเป็นพวกสมาชิกคณะ แต่งานนี้ เลือกเจ้าคณะ แสดงให้เห็นว่า ต้องการสะสางปัญหาในคูเรียจริงๆ)
ปัจจุบัน คุณพ่อการ์บาโย่ อายุ 59 ปี และเป็นผู้ดูแลสมาชิกฟรังซิสกันกว่า 15,000 คนใน 113 ประเทศทั่วโลก การแต่งตั้งดังกล่าวจะทำให้คุณพ่อการ์บาโย่ ต้องเข้ารับการอภิเษกเป็นพระอัครสังฆราชด้วย (มีหลายเสียงวิเคราะห์ว่า ยุคนี้ พระสันตะปาปาจะนำบุคลากรจาก “คณะนักบวชที่เคร่งครัดมากๆ” มาวางระบบใหม่ให้กับโรมันคูเรีย .. จะจริงหรือไม่ ต้องติดตาม)
มีเลขาฯแล้ว แต่ต้องการทำทุกอย่างด้วยตัวเอง – ในที่สุด สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงมีเลขาฯแล้ว นั่นคือ “มองซินญอร์ อัลเฟร็ด ซัวเร็บ” ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขาฯในสมัยพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 และยังเคยทำงานในวังพระสันตะปาปายุคบุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2 ด้วย เรียกได้ว่า เป็นบุรุษผู้ถวายงานรับใช้ 3 พระสันตะปาปาอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม การจัดตารางเวลาให้คนเข้าพบและตารางเวลาอื่นๆ พระสันตะปาปา ฟรังซิส จะเป็นคนทำเองทั้งหมด เรียกได้ว่า เลขาฯทำหน้าที่แค่คอยดูแลเรื่องเอกสารเท่านั้น สำหรับตารางเวลาประจำวันคร่าวๆของพระสันตะปาปา ฟรังซิส ก็คือ ตื่นนอนตอนตี 4 (ตื่นเองไม่ต้องมีนาฬิกาปลุก) จากนั้น หลังอาหารเที่ยง พระองค์จะนอนกลางวันประมาณ 40 นาที และจะเข้านอนตอน 5 ทุ่ม
ไม่ร้องเพลงระหว่างมิสซา – หากได้ดูการถ่ายทอดสดมิสซาที่พระสันตะปาปา ฟรังซิส เป็นประธาน จะพบว่าพระองค์ไม่เคยร้องเพลงในมิสซาเลย ยกเว้นเพลงข้าแต่พระบิดา ความสงสัยนี้ดังขึ้นเรื่อยๆ จนคุณพ่อเฟเดริโก้ ลอมบาร์ดี้ ผู้อำนวยการศูนย์ข่าววาติกัน ต้องออกมาชี้แจงว่า “พวกเราชาวเยสุอิต (พระสันตะปาปาก็เยสุอิต) ขึ้นชื่ออยู่แล้วว่า ไม่เก่งเรื่องการขับร้องเพลงในพิธีกรรม พระสันตะปาปาฟรังซิสก็เช่นกัน พระองค์ก็ไม่ถนัดเรื่องแบบนี้ มันไม่จริงเลยที่มีข่าวลือว่า พระสันตะปาปาทรงเหลือปอดข้างเดียวและทำให้พระองค์เหนื่อยหากจะร้องเพลงในมิสซา อย่าลืมว่า พระสันตะปาปาฟรังซิสไม่ใช่พระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ผู้ทรงมีเสียงอันไพเราะแบบนักแสดง”
พูดแต่ภาษาอิตาเลี่ยน – นอกจากเรื่องร้องเพลง คนยังสงสัยอีกว่า ทำไมพระสันตะปาปาพูดแต่ภาษาอิตาเลี่ยนภาษาเดียว เฉพาะอย่างยิ่งในการประทานพรแด่โรมและโลกตอนวันปาสกา ตามธรรมเนียมปฏิบัติ พระสันตะปาปาจะอวยพรเป็นภาษาต่างๆกว่า 60 ภาษา (รวมภาษาไทยด้วย) แต่ปีนี้ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวแค่ภาษาเดียวคืออิตาเลี่ยน คนจึงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น
เรื่องนี้ คุณพ่อเฟเดริโก้ ลอมบาร์ดี้ ผู้อำนวยการศูนย์ข่าววาติกัน แถลงว่า “พระสันตะปาปาทรงใช้ภาษาอิตาเลี่ยนได้คล่องแคล่ว เพราะครอบครัวพระองค์เป็นชาวอิตาเลี่ยนอพยพ(ไปอาร์เจนติน่า) พระองค์ทรงพูดภาษาฝรั่งเศสได้ค่อนข้างดี เช่นเดียวกับภาษาเยอรมัน (เพราะเรียนที่เยอรมัน) แต่กับภาษาอังกฤษ พระสันตะปาปาทรงยอมรับว่า นี่คือภาษาที่พระองค์มีปัญหามากที่สุด เฉพาะอย่างยิ่งการออกเสียง”
“ส่วนในการประทานพรแด่โรมและโลก พระสันตะปาปาทรงขอตรัสอวยพรแค่ภาษาเดียวคืออิตาเลี่ยน เพราะทรงไม่ถนัดการตรัสภาษาอื่นๆ พระองค์ยอมเสียสละด้วยการไม่อวยพรภาษาแม่คือภาษาสเปน เพื่อไม่ให้สัตบุรุษที่ใช้ภาษาอื่นๆที่ไม่ใช่ภาษาแม่เกิดความน้อยใจ”
ต้องเด็ดขาดต่อปัญหาสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศ – สุดท้าย สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงต้อนรับพระอัครสังฆราช แกร์ฮาร์ด ลุดวิค มุลเลอร์ ประธานสมณกระทรวงหลักความเชื่อ ที่มาเข้าเฝ้า โดยหน่วยงานนี้สำคัญมากในวาติกันประดุจกระทรวงมหาดไทย เพราะต้องดูแลหลักความเชื่อและกฏระเบียบหลายอย่างในพระศาสนจักร อาทิ การปราบปรามสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศ
โอกาสนี้ พระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงรับสั่งพระอัครสังฆราชมุลเลอร์ว่า “ขอให้สานต่อพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ที่ต้องการให้มีการจัดการอย่างเด็ดขาดต่อการล่วงละเมิดทางเพศ สำคัญสุดคือเราต้องส่งเสริมแนวทางการปกป้องเด็ก และช่วยคนจำนวนมากที่เคยทนทุกข์จากความรุนแรงประเภทนี้ ทั้งนี้ การให้คำสัญญาของสภาพระสังฆราชคาทอลิกประเทศต่างๆในการวางกฏเกณฑ์และปฏิบัติต่อปัญหาเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นประจักษ์พยานถึงพระศาสนจักรและความโปร่งใสของเรา”
AVE MARIA
Comments
Post a Comment