"YouCat" หนังสือคำสอนพร้อมลายเซ็นพระสันตะปาปา

นี่คือหนังสือคำสอนสำหรับเยาวชนทั้งหลายที่จะแจกในการชุมนุมเยาวชนโลกที่กรุงมาดริด พระสันตะปาปาทรงใช้พระองค์เองเป็นหลักประกัน พร้อมเชื้อเชิญว่า “หนังสือเล่มนี้บอกกับเราโดยตรงถึงชะตาชีวิตของเรา” ยิ่งกว่าวรรณกรรมสืบสวนเสียอีก

ซานโดร มาจิสแตร์ - เขียน
Josh Tuam - แปลและเรียบเรียง





งานเขียน “คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก”เป็นหนึ่งในพระราชนิพนธ์ที่ยิ่งของ สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 กระนั้นก็ดี ยังมีน้อยคนนักที่สนใจและเข้าใจงานชิ้นนี้

ขณะที่ยังเป็น พระคาร์ดินัล โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (พระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16) ได้มีส่วนในผลงานดังกล่าว และในฐานะพระสันตะปาปา พระราชกิจแรก เมื่อวันที่28 มิถุนายน 2005 “ประมวลคำสอนพระศาสนจักร” ได้ถูกพิมพ์ย่อในรูปแบบของถามตอบ 598 ข้อ

บัดนี้พระองค์ได้ได้ทรงพยายามอีกครั้ง ในผลงานชิ้นที่สาม ที่มีเป้าหมายเป็นกลุ่มอายุ 14 ถึง 20 ปี ในสำนวนโวหารที่เจาะจงที่เจอถึงพวกเขาโดยเฉพาะ

“ยูแคท (YouCat)” ย่อมาจาก “ยูธ คาทอลิก (Youth Catholic - เยาวชนคาทอลิก)” ได้เริ่มต้นโครงการที่ออสเตรีย ภายใต้วิสัยทัศน์ของ พระคาร์ดินัล คริสโตฟ โชนบอร์น พระอัครสังฆราชแห่งเวียนนา ภาษาต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมัน ส่วนฉบับภาษาอิตาเลียนได้ถูกเรียบเรียงโดย พระคาร์ดินัล อันเจโล่ สโคล่า ประมุขแห่งอัครสังฆมณฑเวนิส และถูกจัดพิมพ์ที่ ซิตตา นูโอวา โรงพิมพ์ของกลุ่มโฟโคลาเร

งานเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “ยูแคท” จะมีในงานเยาวชนโลก ณ กรุงมาดริด วันที่ 16-21 สิงหาคม 2011 ในวันดังกล่าว เยาวชนทุกคนจะได้รับหนังสือพร้อมกับ “เป้ผู้แสวงบุญ” (เป้ที่จะมอบให้ผู้ร่วมงานทุกคน)

เค้าโครงของ “ยูแคท” ก็เหมือนกับข้อคำสอนหลักๆ เริ่มต้นด้วย “บทข้าพเจ้าเชื่อ” ตามด้วยศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งเจ็ด บัญญัติสิบประการ  และลงท้ายด้วย “ข้าแต่พระบิดาของเรา”

สำหรับคำนำโดยพระสันตะปาปานั้น ได้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในนิตยสาร อิล เมสซาจเจโร่ ดิ ซาน อันโตนิโอ และ ลอสแซร์วาตอเร่ โรมาโน่ ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มันเป็นคำนำที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นลายฝีพระหัตถ์โดยตรงปราศการการแปลใดๆ พระสันตะปาปาได้บรรยายถึงความสร้างสรรค์ในคำสอนคาทอลิก เชื้อเชิญในความกล้าหาญที่จะประกาศยืนยันความเชื่อ อีกทั้งอธิบายเหตุผลที่พระองค์มุ่งหมายให้ผลงานฉบับนี้มุ่งสู่บรรดาเยาวชน ความสำเร็จของ “ยูแคท” ยังไม่ปรากฏ แต่จากผลงานประมวลคำสอนพระศาสนจักรก็ชี้ให้เห็นว่าได้นำคำสอนคาทอลิกที่ดูห่างไกลกลับมาสู่พระกายของพระศาสนจักร

ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา พระศาสนจักรในประเทศต่างๆได้ทุ่มเทมากมายเพื่อที่จะสร้างผลิตผลสำหรับข้อความเชื่อของพวกเขา แต่แม้จะได้รับการสนับสนุนจาก สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 และ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 แต่ผลสำเร็จก็ยังดูน่าผิดหวัง ผลดังกล่าวก็คือ ทุกวันนี้ การสอนคำสอนให้บรรดาคนรุ่นใหม่เป็นหลุมดำที่น่าเศร้าสลดยิ่งของการอภิบาลของพระศาสนจักร หลุมดำนี้เองที่เป็นที่มาของคำนำของ“ยูแคท” เป็นต้นคำกล่าวที่เชิญชวนเยาวชนว่า “จงหยั่งรากลึกในความเชื่อให้ยิ่งกว่าคนรุ่นก่อนของพวกเธอ”

และนี่คือคำนำทั้งหมด จากฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16

___________________

“พ่อขอแนะนำให้ลูกอ่านหนังสือที่แสนพิเศษเล่มนี้”

โดย เบเนดิกต์ ที่ 16

ถึงเพื่อนเยาวชนที่รักทั้งหลาย! วันนี้พ่อขอแนะนำให้ลูกอ่านหนังสือที่แสนพิเศษเล่มนี้ หนังสือเล่มนี้ไม่ธรรมดา แต่ก็พอหาวิธีที่จะอธิบายได้ พ่อขออธิบายสั้นๆเพื่อที่ลูกๆจะได้เข้าใจถึงความเอกลักษณ์เฉพาะของมัน

หากจะกล่าวที่มาของ “ยูแคท” ก็คงต้องย้อนไปถึงยุค'80 นั่นเป็นช่วงเวลาที่ลำบากสำหรับพระศาสนจักรที่มีองค์กรอยู่ทั่วโลกขณะที่เราต้องการที่ลุกขึ้นเพื่อหาทิศทางใหม่เพื่อก้าวสู่อนาคต หลังการสังคายวาติกัน ครั้งที่ 2 (1962-1965) และการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมทางสังคม ผู้คนมากมายไม่ทราบแน่ชัดว่าความเชื่อที่ถูกต้องของคริสตชนเป็นอย่างไร พระศาสนจักรสอนอะไร และจะปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่อย่างไร

คริสต์ศาสนาไม่ใช่สิ่งที่ล้าสมัยไปแล้วหรือ? คนๆหนึ่งจะสามารถหาเหตุผลที่จะยังคงเป็นผู้มีความเชื่อในทุกวันนี้ได้หรือ? นี่คือคำถามที่บรรดาคริสตชนต่างถามตัวเองในทุกวันนี้

ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ สอง ได้ตัดสินใจอย่างกล้าหาญว่า บรรดาพระสังฆราชทั่วโลกควรจะเขียนหนังสือเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ พระองค์ (พระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2) ได้มอบความวางใจให้พ่อประสานงานกับบรรดาพระสังฆราชและให้เกิดความมั่นใจที่จะเกิดหนังสือ พ่อหมายถึงหนังสือจริงๆ มิใช่เป็นเพียงการจัดวางข้อความมากมายมารวมกัน หนังสือเล่มนั้นชื่อ “คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก” ซึ่งยังคงเป็นสิ่งใหม่ที่ค่อยกระตุ้นและแสดงออกถึง สิ่งที่พระศาสนจักรคาทอลิกเชื่อในทุกวันนี้ อีกทั้งการที่คนๆหนึ่งจะสามารถมีความเชื่อในท่าที่ตั้งอยู่บนเหตุผล

ตอนนั้นพ่อเป็นกังวล และต้องสารภาพว่าพ่อเองก็สงสัยว่างานดังกล่าวนี้จะสำเร็จได้หรือไม่

จะเป็นไปได้หรือที่เราได้รว่มกันผลิตหนังสือที่จะให้คนอ่านได้ทั่วโลก? เราจะสามารถผลิตข้อความที่สร้างเอกภาพหนึ่งเดียว อีกทั้งความเข้าใจแก่บุคคลที่มีความหลากหลาย มิใช่เพียงพื้นที่ แต่ยังด้านความรู้ และวัฒนธรรม แก่ทุกๆทวีปได้หรือ?

นี่นำมาสู่ความจริงที่ว่า บรรดาพระสังฆราชต่างมิได้ต่างคนต่างเขียน แต่ร่วมมือกันโดยมีเป้าหมายเพื่อพี่น้องและพระศาสนจักรท้องถิ่นของพวกเขานั่นเอง

พ่อต้องสารภาพแม้ทุกวันนี้ พ่อรู้สึกเหมือนเป็นอัศจรรย์แก่พ่อที่โครงการนี้สำหรับในท้ายที่สุด เราพบปะกันสามถึงสี่ครั้งต่อปี ครั้งละหนึ่งสัปดาห์ แล้วเราก็วุ่นวายแนะนำกันโต้เถียงกันในแต่ละคำที่นิพนธ์

สิ่งแรกที่เราทำคือการวางโครงสร้างของหนังสือ มันจึงทำงานได้ง่ายเพราะแต่กลุ่มย่อยก็จะได้รับหัวข้อที่ชัดเจน แล้วไม่ต้องเสียพลังการการใช้ศักยภาพของตนกับระบบที่ไม่ชัดเจน โครงสร้างนั้นก็เป็นโครงสร้างเดียวกับหนังสื่อเล่มนี้ ซึ่งได้ถูกรวมรวมจากประสบการณ์ทางคำสอน ย้อนกลับไปหลายศตวรรษว่า เราเชื่ออะไร เราทำการฉลองธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าอย่างไร เรามีชีวิตในพระคริสตเจ้าอย่างไร และเราควรภาวนาอย่างไร

พ่อไม่อยากอธิบายว่า ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับคำถามที่มีปริมาณมากเพียงใด จนกว่าหนังสือจริงจะออกมา ในการทำงานลักษณะนี้จะเกิดความลังเลในหลายจุด ทุกสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำนั้นไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้น แต่ก็สามารถพัฒนาได้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ยอดเยี่ยม เป็นเครื่องหมายของเอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย เช่นเดียวกับเสียงสำเนียงที่หลากหลายก็ประสานกันเป็นคณะขับร้องประสานเสียง เพราะว่าเรามีความเชื่อพื้นฐาน ที่พระศาสนจักรได้มอบให้เราสืบทอดจากอัครสาวกผ่านกาลเวลาเป็นหลายศตวรรษมาจนทุกวันนี้

ที่มาที่ไป

ย้อนกลับมาช่วงเวลาที่เรากำลังร่าง "คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก" เราได้ทราบว่า ไม่เพียงแต่เป็นทวีปและวัฒนธรรมของคริสตชนเท่านั้นที่แตกต่างกัน แต่ยังในสังคมของแต่ละทวีปก็มี "ความหลากหลาย": ผู้ใช้แรงงานมีความคิดแตกต่างจากของเกษตรกรและกายภาพที่แตกต่างจากนักปรัชญา ผู้ประกอบกิจการแตกต่างจากนักข่าว, คนหนุ่มสาวแตกต่างจากผู้สูงอายุ

ด้วยเหตุนี้ เราจำเป็นต้องอยู่เหนือทุกความแตกต่างในภาษาและความคิด และตามที่ได้หาพื้นฐานเดียวกันร่วมกันระหว่างอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน เรารู้มากยิ่งขึ้นว่าถ้อยคำต้องการ "การถอดความ" มากเพียงใดในโลกที่แตกต่างกันเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงบรรดาผู้คนที่มีความคิดและปัญหาที่แตกต่างกัน

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ณ งานวันเยาวชนโลก (ที่ โรม, โตรอนโต, โคโลญจน์, ซิดนีย์), คนหนุ่มสาวจากทั่วโลกได้พบปะผู้ที่ปรารถนาจะมีความเชื่อ แสวงหาพระเจ้า รักพระคริสต์ อยู่ตลอดเส้นทางการเดินทาง ในบริบทนี้พวกเราถามตัวเองว่าหากเราไม่พยายามที่จะแปล "คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก" เป็นภาษาของเยาวชน และนำถ้อยคำเหล่านี้ไปสู่โลกของพวกเขา โดยธรรมชาติแล้ว ก็ยังมีความหลากหลายในกลุ่มเยาวชนในทุกวันนี้ ดังนั้นภายใต้การรับรองโดยพระสังฆราชแห่งเวียนนา พระคาร์ดินัล คริสโตฟ โชนบอร์น  "ยูแคท" ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเยาวชน พ่อเชื่อว่าจะมีเยาวชนหลายคนที่ยินยอมให้ตนหลงใหลหนังสือเล่มนี้

บางคนบอกว่าทุกวันนี้เยาวชนไม่ได้สนใจคำสอนอีกแล้ว แต่พ่อไม่เชื่อในคำกล่าวนั้นและพ่อมั่นใจว่าพ่อเป็นฝ่ายถูก เยาวชนไมได้ตื้นเขินดั่งที่พวกเขาถูกกล่าวหา พวกเขาต้องการทราบถึงความจริงเป็นจริงของชีวิต นวนิยายอาชญากรรมเป็นการกล่าวถึงชะตาชีวิตที่น่าสนใจเพราะมันจับใจเราโดยประสบการณ์ชีวิตของผู้อื่น แต่หากเป็นประสบการณ์ของเราเองเล่า หนังสือเล่มนี้จะน่าสนใจเพราะพูดกับเรามากของโชคชะตาของเราจึงกังวลเราแต่ละคนอย่างใกล้ชิด

ด้วยเหตุนี้  พ่อขอเชื้อเชิญลูก มาเรียนคำสอนกันเถอะ! นี่คือความปรารถนาจากใจของพ่อ

พ่อขอกล่าวเพื่อไม่เป็นการประจบลูก  ประมวลคำสอนเล่มนี้ไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ง่ายดาย  มันขึ้นอยู่การวิถีชีวิตใหม่ในส่วนตัวของลูก หนังสือเล่มนี้นำเสนอลูกด้วยถ้อยคำจากพระวรสารที่เป็นดั่ง “ไข่มุกเม็ดงาม” (มธ.13:45)  สำหรับทุกสิ่งที่ลูกจะต้องถวาย

พ่อวอนขอต่อลูก จงศึกษาคำสอนด้วยหมดทั้งความรู้สึกและความพากเพียร  จงเสียสละเวลาของลูก! จงศึกษาอย่างเงียบๆในห้องของลูก อ่านกับผู้อื่น เป็นกลุ่ม เป็นเครือข่าย แลกเปลี่ยนความคิดบนอินเตอร์เน็ต หรือหนทางใดๆ ที่ยังคงดำเนินในบทสนทนาแห่งความเชื่อ

ลูกต้องรู้ในสิ่งที่ลูกเชื่อ: ต้องรู้จักความเชื่อของลูกอย่างแม่นยำ เฉกเช่น โปรแกรมเมอร์ที่เชี่ยวชาญรู้จักทราบถึงระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับที่นักดนตรีรู้จักเครื่องดนตรีของตน แน่ทีเดียว ลูกต้องหยั่งรากลึกลงในความเชื่อให้ยิ่งกว่าสมัยของพ่อแม่ของพวกลูกเพื่อที่จะมีพละกำลังและความมั่นคงในการต่อสู้กับการประจญล่อลวงในยุคนี้

ลูกต้องอาศัยความช่วยเหลือจากเบื้องบน หากลูกไม่ต้องการให้ความเชื่อเหือดแห้งไปประดุจหยาดน้ำค้างในดวงตะวัน หากลูกไม่ต้องการที่จะถูกชักจูงตามกระแสบริโภคนิยม หากลูกไม่ต้องการความรักของลูกเน่าเปื่อยในสื่ออนาจาร หากลูกไม่ต้องการทีจะหักหลังผู้อ่อนแอและเหยื่อของการละเมิดและความรุนแรง

หากลูกยินดีมอบตัวลูกและความรู้สึกทั้งหมดสู่การเรียนคำสอน  พ่อก็ยินดีที่จะให้คำแนะนำเล็กน้อยสุดท้ายแก่ลูก 

ลูกทุกคนต่างทราบดีว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ชุมชนแห่งความเชื่อได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีของปีศาจ โดยการที่บาปเจาะทะลวงสู่ภายใน เข้ามาแม้แต่ใจกลางของพระศาสนจักร อย่าใช้เวลานี้เป็นข้ออ้างที่จะหลบหนีจากพระพักตร์พระเจ้า พวกลูกคือพระกายของพระคริสตเจ้า พระศาสนจักร! จงจุดไฟรักแก่พระศาสนจักรในทุกเวลา ต่อหน้าทุกคนที่กำลังบดบังพระพักตร์ของพระศาสนจักร  "อย่าเฉื่อยชา จงมีจิตใจกระตือรือร้นในการรับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้า" (โรม 12:11)

ในช่วงที่มืดมนที่สุดของประวัติศาสตร์อิสราเอล พระเจ้ามิได้เรียกบุคคลที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่ยอมรับในสังคม แต่ทรงเรียกชายหนุ่มนามว่า เยเรมีย์ เยเรมีย์รู้สึกหนักใจว่างานนี้ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ตนจะกระทำได้(เยเรมีย์ 1:6) "แล้วข้าพเจ้าก็กราบทูลว่า อนิจจา ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าของข้า ข้าพเจ้าพูดไม่เป็น ข้าพเจ้ายังเด็กเกินไป" แต่พระยาเวห์ตรัสตอบว่า "อย่ากล่าวว่า “ข้าพเจ้ายังเด็กเกินไป” ผู้ใดที่เราส่งเจ้าไปหาเขา เจ้าจะไปหาเขา  สิ่งใดที่เราบัญชาเจ้า เจ้าจะพูดได้” (เยเรมีย์  1:7)


พ่อขออวยพรและภาวนาเพื่อลูกทุกคนทุกๆวัน


เบเนดิกต์ ที่ 16



Comments