ฟาติมาสาร - เมื่อสงฆ์ “แข็งข้อ” ต่อสังฆราช (19 ก.ค. 2011)
ช่วงนี้ พระสันตะปาปาทรงพักร้อนประจำปีอยู่ก็จริง แต่ดูเหมือนว่า พักร้อนปีนี้จะเป็นช่วงเวลาแห่งความปวดหัวและเศร้าใจของพระองค์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ....
ข่าวดังระดับโลกของพระศาสนจักรคาทอลิกในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มี 2 เรื่อง ได้แก่ “รัฐบาลจีนจัดการแต่งตั้งสังฆราชใหม่ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากพระสันตะปาปา” และ “สงฆ์คาทอลิกในออสเตรีย 300 องค์ รวมหัวลงชื่อเข้ากลุ่มไม่นบนอบต่อพระสังฆราช เพื่อเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปในพระศาสนจักร”
ข่าวรัฐบาลจีนแต่งตั้งสังฆราชคาทอลิก ผู้อ่านฟาติมาสารหลายท่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว เพราะผมรายงานเรื่องพวกนี้มาตั้งแต่ปี 2007 ผมย้ำหลายครั้งว่า คริสตังในจีนแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกคือศาสนจักรคาทอลิกจีนที่รัฐบาลตั้งขึ้น และฝ่ายที่สองคือ “พระศาสนจักรใต้ดิน” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยอมรับอำนาจพระสันตะปาปาและต่อต้านรัฐบาลที่ชอบแทรกแซงศาสนา (กลุ่มใต้ดิน เป็นกลุ่มที่ผิดกฏหมายในจีน)
การแต่งตั้งสังฆราชใหม่นี้ เป็นสัญญาณแห่งความแตกแยกในกลุ่มคริสตังจีน เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสงฆ์คาทอลิก สงฆ์สังกัดรัฐบาลจะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ส่วนสงฆ์ใต้ดิน (ยอมรับพระสันตะปาปา) จะถูกข่มเหงอย่างหนัก หากใครไม่ทำตามคำสั่งรัฐบาล จะถูกจับไปขังคุก (ล่าสุด พระสังฆราชกลุ่มใต้ดิน โดนจับไป 4 องค์ เพราะปฏิเสธเข้าร่วมการแต่งตั้งสังฆราชใหม่ที่รัฐบาลจีนตั้งขี้น)
เรื่องพระศาสนจักรคาทอลิกในจีนและการเบียดเบียนคริสตังอย่างโหดร้ายก็มีประมาณนี้ ผมไม่ขอเล่าต่อ เพราะมั่นใจว่า ชาวฟาติมาทราบเรื่องพวกนี้ดีอยู่แล้ว
ส่วนข่าวสงฆ์คาทอลิกในออสเตรีย รวมหัวตั้งแก๊งค์ “ไม่นบนอบพระสังฆราช” ข่าวนี้ดังมากในยุโรป เพราะนี่คือการท้าทายพระสังฆราชคาทอลิกในออสเตรียแบบซึ่งๆหน้า และส่งแรงสะเทือนแบบอ้อมๆไปยังพระสันตะปาปาด้วย
พระศาสนจักรคาทอลิกออสเตรีย มีสงฆ์ประมาณ 4,200 องค์ เรื่องที่เกิดขึ้น มาจากการสุมหัวรวมตัวของสงฆ์ 300 องค์ (คิดเป็น 7.15 เปอร์เซ็นต์) โดยสงฆ์แข็งข้อกลุ่มนี้ ได้ตั้งชื่อแก๊งค์ของตัวเองว่า “ไม่นบนอบพระสังฆราช” (AUFRUF ZUM UNGEHORSAM) วัตถุประสงค์ของกลุ่มคือเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสิ่งที่พระศาสนจักรปฏิเสธมาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา รวมทั้งให้ยกเลิกคำปฏิญาณ “การนบนอบต่อพระสังฆราชของตน”
- สนับสนุนให้สตรีสามารถบวชเป็นสงฆ์ได้ และสงฆ์สามารถแต่งงานมีครอบครัวได้ ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์
... หลังข่าวการรวมตัวของสงฆ์กลุ่มนี้พร้อมข้อเรียกร้องทั้งหมดถูกรายงานออกไป ปฏิกิริยาของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศออสเตรีย บอกได้คำเดียวว่า “ช็อก” แบบสุดๆ
พระคาร์ดินัล คริสโตฟ โชนบอร์น ประธานสภาพระสังฆราชคาทอลิกออสเตรีย ออกมากล่าวสั้นๆว่า “พ่อช็อกมากๆกับสิ่งที่เกิดขึ้น” ขณะที่ พระสังฆราช เอก้อน คาเพลลารี่ รองประธานสภาพระสังฆราช กล่าวว่า “มันเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสจริงๆ เพราะสิ่งที่พวกเขาร้องขอคือการคุกคามเอกลักษณ์และเอกภาพของพระศาสนจักรคาทอลิก”
ตอนนี้ กลุ่มสงฆ์แข็งข้อกำลังเป็นเป้าสนใจไปทั่วออสเตรีย การออกมาโปรโมทอย่างต่อเนื่อง ทำให้สงฆ์บางองค์เริ่มไขว้เขวกับแนวคิดและสมัครไปเป็นแนวร่วมด้วย งานนี้ พระสันตะปาปาผู้กำลังพักผ่อนประจำปีอยู่ ต้องรีบคิดวิธีแก้ปัญหา เพื่อให้พระศาสนจักรออสเตรียกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยให้ปัญหาลุกลาม จำนวนสงฆ์แข็งข้อ 7 เปอร์เซ็นต์ (300 คน) อาจเพิ่มขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์และลุกลามออกไปทั่วโลก จนยากจะควบคุมก็เป็นได้
![]() |
พระคาร์ดินัล คริสโตฟ โชนบอร์น ปธ.สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งออสเตรีย |
ข่าวดังระดับโลกของพระศาสนจักรคาทอลิกในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มี 2 เรื่อง ได้แก่ “รัฐบาลจีนจัดการแต่งตั้งสังฆราชใหม่ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากพระสันตะปาปา” และ “สงฆ์คาทอลิกในออสเตรีย 300 องค์ รวมหัวลงชื่อเข้ากลุ่มไม่นบนอบต่อพระสังฆราช เพื่อเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปในพระศาสนจักร”
ข่าวรัฐบาลจีนแต่งตั้งสังฆราชคาทอลิก ผู้อ่านฟาติมาสารหลายท่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว เพราะผมรายงานเรื่องพวกนี้มาตั้งแต่ปี 2007 ผมย้ำหลายครั้งว่า คริสตังในจีนแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกคือศาสนจักรคาทอลิกจีนที่รัฐบาลตั้งขึ้น และฝ่ายที่สองคือ “พระศาสนจักรใต้ดิน” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยอมรับอำนาจพระสันตะปาปาและต่อต้านรัฐบาลที่ชอบแทรกแซงศาสนา (กลุ่มใต้ดิน เป็นกลุ่มที่ผิดกฏหมายในจีน)
การแต่งตั้งสังฆราชใหม่นี้ เป็นสัญญาณแห่งความแตกแยกในกลุ่มคริสตังจีน เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสงฆ์คาทอลิก สงฆ์สังกัดรัฐบาลจะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ส่วนสงฆ์ใต้ดิน (ยอมรับพระสันตะปาปา) จะถูกข่มเหงอย่างหนัก หากใครไม่ทำตามคำสั่งรัฐบาล จะถูกจับไปขังคุก (ล่าสุด พระสังฆราชกลุ่มใต้ดิน โดนจับไป 4 องค์ เพราะปฏิเสธเข้าร่วมการแต่งตั้งสังฆราชใหม่ที่รัฐบาลจีนตั้งขี้น)
เรื่องพระศาสนจักรคาทอลิกในจีนและการเบียดเบียนคริสตังอย่างโหดร้ายก็มีประมาณนี้ ผมไม่ขอเล่าต่อ เพราะมั่นใจว่า ชาวฟาติมาทราบเรื่องพวกนี้ดีอยู่แล้ว
ส่วนข่าวสงฆ์คาทอลิกในออสเตรีย รวมหัวตั้งแก๊งค์ “ไม่นบนอบพระสังฆราช” ข่าวนี้ดังมากในยุโรป เพราะนี่คือการท้าทายพระสังฆราชคาทอลิกในออสเตรียแบบซึ่งๆหน้า และส่งแรงสะเทือนแบบอ้อมๆไปยังพระสันตะปาปาด้วย
พระศาสนจักรคาทอลิกออสเตรีย มีสงฆ์ประมาณ 4,200 องค์ เรื่องที่เกิดขึ้น มาจากการสุมหัวรวมตัวของสงฆ์ 300 องค์ (คิดเป็น 7.15 เปอร์เซ็นต์) โดยสงฆ์แข็งข้อกลุ่มนี้ ได้ตั้งชื่อแก๊งค์ของตัวเองว่า “ไม่นบนอบพระสังฆราช” (AUFRUF ZUM UNGEHORSAM) วัตถุประสงค์ของกลุ่มคือเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสิ่งที่พระศาสนจักรปฏิเสธมาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา รวมทั้งให้ยกเลิกคำปฏิญาณ “การนบนอบต่อพระสังฆราชของตน”
ข้อเรียกร้องของสงฆ์กลุ่มนี้ มีดังต่อไปนี้
- ขอให้ยกเลิกคำปฏิญาณพระสงฆ์ ที่ว่า “นบนอบต่อพระสังฆราช” เพราะพระเจ้าทรงมอบเสรีภาพให้มนุษย์ในการคิดตัดสินใจ การนบนอบเชื่อฟังพระสังฆราชจึงเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพที่พระเจ้ามอบให้อย่างชัดเจน
- ในทุกมิสซา สงฆ์ผู้ถวายมิสซาจะสวดภาวนาเพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฏเกณฑ์ต่างๆในพระศาสนจักร โดยยึดแนวคิด “ที่ใดที่พระเจ้าประทับอยู่ ที่นั่นย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการพูดตามสิ่งที่ตนคิด”
- ส่งเสริมให้สงฆ์ส่งศีลมหาสนิทให้กับ “ทุกคนที่มีจิตใจดีงาม” อาทิ คนต่างศาสนา (คนต่างศาสนาสามารถเดินออกมารับศีลมหาสนิทได้) และคริสตังที่แต่งงานแล้วหย่าร้าง
- เมื่อถึงช่วงบทเทศน์ในมิสซา ผู้เทศน์ไม่จำเป็นต้องเป็นพระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสชายหญิงก็ได้ เนื่องจากฆราวาสบางคน มีมุมมองและการแบ่งปันที่ยอดเยี่ยมกว่าสงฆ์ด้วยซ้ำ
- ห้ามถวายมิสซามากกว่า 1 ครั้งในวันอาทิตย์ และยกเลิกการเชิญสงฆ์จากวัดอื่น มาถวายมิสซาในวัดของตน เพราะจะทำให้สงฆ์เกิดความขี้เกียจและไม่กระตือรือร้นที่จะอภิบาลสัตบุรุษ
- เจ้าอาวาสในแต่ละวัด ไม่จำเป็นต้องเป็นพระสงฆ์ แต่เป็นสัตบุรุษชายหรือหญิงก็ได้ หากเขาคนนั้น เป็นคนศรัทธาและเป็นมีความสามารถในการเป็นผู้นำ
... หลังข่าวการรวมตัวของสงฆ์กลุ่มนี้พร้อมข้อเรียกร้องทั้งหมดถูกรายงานออกไป ปฏิกิริยาของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศออสเตรีย บอกได้คำเดียวว่า “ช็อก” แบบสุดๆ
พระคาร์ดินัล คริสโตฟ โชนบอร์น ประธานสภาพระสังฆราชคาทอลิกออสเตรีย ออกมากล่าวสั้นๆว่า “พ่อช็อกมากๆกับสิ่งที่เกิดขึ้น” ขณะที่ พระสังฆราช เอก้อน คาเพลลารี่ รองประธานสภาพระสังฆราช กล่าวว่า “มันเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสจริงๆ เพราะสิ่งที่พวกเขาร้องขอคือการคุกคามเอกลักษณ์และเอกภาพของพระศาสนจักรคาทอลิก”
AVE MARIA
Comments
Post a Comment