ฟาติมาสาร - วันสันติภาพในจิตใจ (2 ม.ค. 2011)
วันที่ 1 ม.ค.ของทุกปี พระศาสนจักรคาทอลิกกำหนดให้เป็นวันสันติภาพสากล แต่ละปี พระสันตะปาปาจะทรงเขียนสารสันติภาพเพื่อเรียกร้องความสงบสุขให้เกิดกับโลก ทุกคน “ดูเหมือน” ให้ความสำคัญกับเสียงเรียกร้องของพระสันตะปาปา แต่ไม่ใส่ใจจะปฏิบัติตามจริงๆ ผลสุดท้าย มันก็เป็นเสียงเรียกร้องที่ล่องลอยไปตามกระแสลมในวันปีใหม่

ในมุมมองของผม เชื่อว่า หลายคนคงจะเบื่อแล้วกับการออกมาเรียกร้องสันติภาพ เพราะเรียกร้องเท่าไหร่ มันก็ไม่เกิดสักที ใครจะเป็นอะไรก็เป็นไปแล้วกัน แต่อย่ามาเกิดกับเราก็พอ หลายคนอาจจะคิดแบบนี้ แรกๆ ผมก็เคยคิดแบบนั้น ทุกครั้งเวลาทำข่าวพระสันตะปาปาเรียกร้องสันติภาพ ผมเคยสงสัยว่า พระสันตะปาปาไม่เบื่อบ้างเหรอ พูดแต่เรื่องเดิมๆ พูดแล้วก็ไม่เกิดผล
ช่วง 3 ปีแรกในสมณสมัยปกครองของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ผมได้อ่านสารวันสันติภาพสากลและการเรียกร้องสันติภาพระหว่างการสวดเทวทูตถือสาร ผมยอมรับว่า ตัวเองยังเข้าไม่ถึง “แก่น” สันติภาพที่พระสันตะปาปาต้องการจะสื่อ แต่พอเข้าปีที่ 4-5 ผมว่า พระสันตะปาปาเริ่มทำให้คำว่าสันติภาพเป็นเรื่องเข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไปที่ “ตั้งใจ” อ่านและไตร่ตรองคำพูดของพระองค์อย่างจริงจัง
ช่วงหลังๆ เวลาพระสันตะปาปาเรียกร้องสันติภาพ พระองค์จะไม่เรียกร้องแบบกว้างๆ อาทิ หยุดสู้รบกันได้แล้ว หยุดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นได้แล้ว หยุดฆ่ากันได้แล้ว โลกจะได้สงบสันติเสียที ... เรียกร้องสันติภาพแบบนี้ ดูเป็นนามธรรมมากๆ ไม่ต่างอะไรกับการเรียกร้องสันติภาพแบบผู้นำประเทศต่างๆ ที่ออกมาขอให้สันติภาพเกิดในตะวันออกกลางหรือเกิดในประเทศของตน
พระดำรัสที่พระสันตะปาปาใช้เรียกร้องสันติภาพในปัจจุบัน พระองค์ทรงเน้นที่ “สันติภาพภายในจิตใจ” พระสันตะปาปาเชื่อว่า ถ้าสันติภาพภายในจิตใจของเราเกิดขึ้น เราก็จะไม่อาฆาตคิดแก้แค้นผู้อื่น เมื่อเราไม่แก้แค้น เราก็จะอยู่อย่างสงบไม่รุกรานใคร เมื่อต่างคนต่างอยู่อย่างสงบ สังคมโลกก็จะสงบสุขตามไปด้วย นี่เป็นการเรียกร้องสันติภาพที่ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่เรียกร้องแบบปลายเหตุ เช่น ขอให้หยุดสู้รบกันได้แล้ว (ดูเหมือนเป็นการเรียกร้องสันติภาพแบบพื้นๆ แต่มันลึกซึ้งหน่อยตรงที่ต้องคิดตาม แล้วจะเข้าใจในหลักเหตุและผล)
ผมคิดว่า พระดำรัสเรื่องสันติภาพของพระสันตะปาปา สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสังคมไทยในยุคที่เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากความอาฆาตและต้องการล้างแค้น เรื่องร้ายๆที่เกิดตลอดปีที่ผ่านมา มันมาจาก “ภาวะไร้สันติภาพภายในจิตใจ” ทุกฝ่ายมัวแต่คิดว่า ต้องเอาคืน ต้องล้างแค้น เมื่อทุกคนยังคิดแบบนี้ ผลที่ตามมาย่อมหนีไม่พ้นความบรรลัยในสังคม นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ทำให้สังคมไทยยังไม่ค่อยมีสันติภายในจิตใจก็คือ การนำแนวคิด “ตีงูต้องตีให้ตาย ถ้าตีไม่ตาย มันจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา” มาใช้แบบผิดๆ ผมว่า คำพังเพยนี้ควรใช้กับสัตว์ร้ายเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้กับชีวิตคน เพราะถ้าใช้กับคน การฆ่ากันตายก็เกิดขึ้นอยู่ดี
พูดถึงสันติภาพภายในจิตใจ ผมคิดว่า ศาสนาคริสต์เป็นหนึ่งในศาสนาที่ดีที่สอนให้คนรู้จักให้อภัย ตัวอย่างชัดเจนในยุคสมัยของเราก็คือ สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ทรงให้อภัย “อาลี อัคกา” มือปืนเพชฌาตชาวตุรกีที่ลอบสังหารพระองค์ นี่คือตัวอย่างคนที่มีสันติภาพในจิตใจ แต่อย่างว่า บางที เรื่องนี้เกิดมานานเกือบ 30 ปี หลายคนอาจจะหลงลืมไปแล้ว (ปีนี้ ครบรอบ 30 ปีที่ พระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์)
... ก็ได้แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ปี 2011 ที่เราอยู่นี้ จะเป็นปีที่สันติภาพในจิตใจเกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ บางที เรายังไม่ต้องไปหวังเห็นสันติภาพระดับโลก เพราะบางครั้งมันเพ้อเจ้อ หากสันติภาพระดับท้องถิ่น อาทิ สันติภาพในจิตใจของเรา ยังไม่เกิดขึ้นจริงๆ ...
AVE MARIA

ในมุมมองของผม เชื่อว่า หลายคนคงจะเบื่อแล้วกับการออกมาเรียกร้องสันติภาพ เพราะเรียกร้องเท่าไหร่ มันก็ไม่เกิดสักที ใครจะเป็นอะไรก็เป็นไปแล้วกัน แต่อย่ามาเกิดกับเราก็พอ หลายคนอาจจะคิดแบบนี้ แรกๆ ผมก็เคยคิดแบบนั้น ทุกครั้งเวลาทำข่าวพระสันตะปาปาเรียกร้องสันติภาพ ผมเคยสงสัยว่า พระสันตะปาปาไม่เบื่อบ้างเหรอ พูดแต่เรื่องเดิมๆ พูดแล้วก็ไม่เกิดผล
ช่วง 3 ปีแรกในสมณสมัยปกครองของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ผมได้อ่านสารวันสันติภาพสากลและการเรียกร้องสันติภาพระหว่างการสวดเทวทูตถือสาร ผมยอมรับว่า ตัวเองยังเข้าไม่ถึง “แก่น” สันติภาพที่พระสันตะปาปาต้องการจะสื่อ แต่พอเข้าปีที่ 4-5 ผมว่า พระสันตะปาปาเริ่มทำให้คำว่าสันติภาพเป็นเรื่องเข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไปที่ “ตั้งใจ” อ่านและไตร่ตรองคำพูดของพระองค์อย่างจริงจัง
ช่วงหลังๆ เวลาพระสันตะปาปาเรียกร้องสันติภาพ พระองค์จะไม่เรียกร้องแบบกว้างๆ อาทิ หยุดสู้รบกันได้แล้ว หยุดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นได้แล้ว หยุดฆ่ากันได้แล้ว โลกจะได้สงบสันติเสียที ... เรียกร้องสันติภาพแบบนี้ ดูเป็นนามธรรมมากๆ ไม่ต่างอะไรกับการเรียกร้องสันติภาพแบบผู้นำประเทศต่างๆ ที่ออกมาขอให้สันติภาพเกิดในตะวันออกกลางหรือเกิดในประเทศของตน
พระดำรัสที่พระสันตะปาปาใช้เรียกร้องสันติภาพในปัจจุบัน พระองค์ทรงเน้นที่ “สันติภาพภายในจิตใจ” พระสันตะปาปาเชื่อว่า ถ้าสันติภาพภายในจิตใจของเราเกิดขึ้น เราก็จะไม่อาฆาตคิดแก้แค้นผู้อื่น เมื่อเราไม่แก้แค้น เราก็จะอยู่อย่างสงบไม่รุกรานใคร เมื่อต่างคนต่างอยู่อย่างสงบ สังคมโลกก็จะสงบสุขตามไปด้วย นี่เป็นการเรียกร้องสันติภาพที่ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่เรียกร้องแบบปลายเหตุ เช่น ขอให้หยุดสู้รบกันได้แล้ว (ดูเหมือนเป็นการเรียกร้องสันติภาพแบบพื้นๆ แต่มันลึกซึ้งหน่อยตรงที่ต้องคิดตาม แล้วจะเข้าใจในหลักเหตุและผล)
ผมคิดว่า พระดำรัสเรื่องสันติภาพของพระสันตะปาปา สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสังคมไทยในยุคที่เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากความอาฆาตและต้องการล้างแค้น เรื่องร้ายๆที่เกิดตลอดปีที่ผ่านมา มันมาจาก “ภาวะไร้สันติภาพภายในจิตใจ” ทุกฝ่ายมัวแต่คิดว่า ต้องเอาคืน ต้องล้างแค้น เมื่อทุกคนยังคิดแบบนี้ ผลที่ตามมาย่อมหนีไม่พ้นความบรรลัยในสังคม นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ทำให้สังคมไทยยังไม่ค่อยมีสันติภายในจิตใจก็คือ การนำแนวคิด “ตีงูต้องตีให้ตาย ถ้าตีไม่ตาย มันจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา” มาใช้แบบผิดๆ ผมว่า คำพังเพยนี้ควรใช้กับสัตว์ร้ายเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้กับชีวิตคน เพราะถ้าใช้กับคน การฆ่ากันตายก็เกิดขึ้นอยู่ดี
พูดถึงสันติภาพภายในจิตใจ ผมคิดว่า ศาสนาคริสต์เป็นหนึ่งในศาสนาที่ดีที่สอนให้คนรู้จักให้อภัย ตัวอย่างชัดเจนในยุคสมัยของเราก็คือ สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ทรงให้อภัย “อาลี อัคกา” มือปืนเพชฌาตชาวตุรกีที่ลอบสังหารพระองค์ นี่คือตัวอย่างคนที่มีสันติภาพในจิตใจ แต่อย่างว่า บางที เรื่องนี้เกิดมานานเกือบ 30 ปี หลายคนอาจจะหลงลืมไปแล้ว (ปีนี้ ครบรอบ 30 ปีที่ พระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์)
... ก็ได้แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ปี 2011 ที่เราอยู่นี้ จะเป็นปีที่สันติภาพในจิตใจเกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ บางที เรายังไม่ต้องไปหวังเห็นสันติภาพระดับโลก เพราะบางครั้งมันเพ้อเจ้อ หากสันติภาพระดับท้องถิ่น อาทิ สันติภาพในจิตใจของเรา ยังไม่เกิดขึ้นจริงๆ ...
AVE MARIA
Comments
Post a Comment