Posts

โป๊ปฟรังซิส: "เยาวชนต้องทำตัวเป็นผู้นำสันติและการคืนดีกันในสังคม"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงหวังเห็นเยาวชนทำตัวเป็นผู้นำสันติและการคืนดีกันในสังคม ทรงย้ำ เราอย่าไปใส่ใจกับความคิดแข็งกระด้างของคนบางกลุ่ม แต่เราต้องเลือกทำตัวสุภาพถ่อมตนและโอบอ้อมอารี เพราะนี่คือหนทางนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสตชน  25 มิถุนายน 2016 - สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส เสด็จไปร่วมงานคริสตศาสนสัมพันธ์ที่กรุงเยเรวาน ประเทศอาร์เมเนีย โอกาสนี้ พระสันตะปาปาตรัสแบ่งปันว่า - พ่อขอเรียกร้องบรรดาคริสตชนที่มีความเชื่อทุกคน อย่าไปใส่ใจกับความคิดเห็นที่แข็งกระด้างและความต้องการส่วนตัว แต่จงแสดงออกถึงความสุภาพถ่อมตนและความโอบอ้อมอารีบนหนทางที่นำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสตชน - ในฐานะผู้นำกลุ่มคริสตชน เราทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาความเชื่อนี้ให้ดำรงอยู่ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น ความเชื่อต้องได้รับการถ่ายทอดออกไปด้วยความรัก และด้วยพลังขับเคลื่อนแห่งความเชื่อที่จะหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสันติเพื่ออนาคต - นอกจากนี้ พ่ออยากขอร้องเยาวชนทุกคน โปรดเป็นผู้นำสันติให้กับสังคม จงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการสร้างวัฒนธรรมของการพบหน้ากันและคืนดีกัน

โป๊ปฟรังซิส: "เราทุกคนต้องสร้างสะพานเข้าหากัน อย่าสร้างกำแพงกั้นขวางกัน"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงแบ่งปันเสาหลัก 3 ต้นในชีวิตคริสตชนอาร์เมเนียน ได้แก่ ความทรงจำ ความเชื่อ และความรักที่เมตตา ทรงชี้ เราต้องจดจำสิ่งที่พระเจ้าทรงทำเพื่อเรา ส่วนความเชื่อ เราต้องระวังการประจญที่ล่อลวงเราไม่ให้ถ่ายทอดความเชื่อนี้ให้คนรุ่นหลัง ส่วนความรักที่เมตตา เราทุกคนต้องสร้างสะพานเข้าหากัน อย่าสร้างกำแพงกั้นกัน และจงทำงานอย่างหนัก เพื่อเอาชนะความแตกแยกในสังคม 25 มิถุนายน 2016 - สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซา ณ จัตุรัสวาร์ทานันส์ เมืองยุมรี่ ประเทศอาร์เมเนีย โดยนี่เป็นมิสซาแรกของพระสันตะปาปาในการเสด็จเยือนอาร์เมเนียด้วย สำหรับบทเทศน์ประจำมิสซานี้ พระสันตะปาปาตรัสว่า - พ่ออยากแบ่งปันเสาหลัก 3 ต้นในชีวิตคริสตชนอาร์เมเนียน ซึ่งเสาทั้งสามนี้ตั้งมั่นด้วยความมั่นคง - เสาต้นแรกคือความทรงจำ นี่คือการย้ำเตือนเราถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงทำในตัวเราและทำเพื่อเรา พระองค์ทรงเลือกเรา รักเรา เรียกเรา และให้อภัยเรา ความทรงจำของชาวอาร์เมเนียนจำเป็นต้องได้รับการปกปักรักษาตลอดไป แม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย พระเจ้าทรงจดจำความศรัทธาที่เรามีต่อพระวรสารอย่างแน่นอน คนที่เป็นประจักษ์พยานแม้

โป๊ปฟรังซิส: "ผู้นำทางการเมืองต้องจริงจังกับการหยุดยั้งการเบียดเบียนศาสนาที่ถึงขั้นฆ่ากันตาย"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงร่วมเป็นทุกข์ไปกับชาวอาร์เมเนียนที่ต้องเผชิญการสังหารหมู่จากกองทัพอ็อตโตมันในศตวรรษที่แล้ว โดยตรัสเรื่องนี้ว่าเป็น "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ซึ่งปีที่แล้ว พระองค์ก็ตรัสแบบนี้จนทำให้ตุรกีไม่พอใจ จนต้องเรียกทูตประจำสันตะสำนักกลับประเทศไปนานถึง 10 เดือน ทรงย้ำ ผู้นำทางการเมืองต้องจริงจังกับการหยุดยั้งการเบียดเบียนศาสนาที่ถึงขั้นฆ่ากันตาย  24 มิถุนายน 2016 - สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส เสด็จไปยังทำเนียบประธานาธิบดีของอาร์เมเนีย เพื่อพบปะคณะรัฐบาลและผู้บริหารประเทศ ในส่วนใจความสำคัญของสิ่งที่พระสันตะปาปาตรัสกับพวกเขา มีว่า - อาร์เมเนียเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ นี่คือประเทศแรกที่ประกาศให้คริสตศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นอกจากนี้ เป็นที่เชื่อกันว่า พื้นที่บางส่วนของประเทศเป็นอาณาเขตของสวนเอเมนในพระคัมภีร์ด้วย - อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ข้าพเจ้าต้องขอกล่าวถึงเหตุการณ์ในศตวรรษที่แล้วซึ่งเกิดการสังหารหมู่ หรือที่เราเรียกกันว่า "เม็ตซ์ เยเกิร์น" (ความชั่วสุดเลวร้าย) เมื่อชาวอาร์เมเนียนกว่า 1.5 ล้านคนต้องถูกกองทัพอ็อตโตมานฆ่าตาย นี่

โป๊ปฟรังซิส: "คริสตชนต้องร่วมมือกันเป็นประจักษ์พยาน"

Image
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2016 - พันธกิจแรกในอาร์เมเนียของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ก็คือ การเสด็จไปยังอาสนวิหารโฮลี่ เอ็ตช์มีแอดซิน (Holy Etchmiadzin เพื่อพบกับ พระอัยกา คาเรคิน ที่ 2 ผู้นำพระศาสนจักรอาร์เมเนียและบรรดานักบวชอาร์เมเนียน โอกาสนี้ พระสันตะปาปาตรัสกับพวกเขาว่า "น่าเศร้าที่โลกของเราถูกละเลงด้วยความขัดแย้งและความแตกแยก เช่นเดียวกับความทุกข์หลากหลายรูปแบบทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดังนั้น คริสตชนจึงต้องเป็นประจักษ์พยานแสดงออกถึงความเคารพและการร่วมมือกันอย่างพี่น้อง เพื่อจะได้แสดงออกถึงพลังแห่งการแยกแยะความผิดชอบชั่วดี รวมไปถึงสัจธรรมความจริงของพระคริสต์" ทั้งนี้ อาสนวิหารโฮลี่ เอ็ตช์มีแอดซิน ที่พระสันตะปาปาเสด็จไปนี้ สร้างขึ้นตั้งแต่ ค.ศ.301 หรือประมาณ 1,715 ปีมาแล้ว

โป๊ปฟรังซิสตรัสถึง BREXIT: "เป็นความต้องการที่แสดงออกโดยประชาชน"

Image
ช่วงสายวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ได้ประทับเครื่องบินพระที่นั่งออกจากสนามบินฟิวมิชิโน่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี มุ่งหน้าไปยังสนามบินนานาชาติกรุงเยเรวัน ประเทศอาร์เมเนีย เพื่อเริ่มพันธกิจการเยือนเป็นเวลา 3 วัน  ระหว่างที่อยู่บนเครื่องบิน พระสันตะปาปาทรงทักทายบรรดานักข่าวสายวาติกันที่ตามเสด็จอย่างเป็นกันเอง โดยพระองค์ทรงตอบคำถามนักข่าวเกี่ยวกับการลงประชามติของชาวสหราชอาณาจักรที่ถอนตัวจากสหภาพยุโรปด้วย "มันเป็นความต้องการที่แสดงออกโดยประชาชน สิ่งนี้เรียกร้องเราทุกคนให้มีความรับผิดชอบและยืนยันถึงความเป็นอยู่ที่ดีของชาวสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของทั้งทวีปยุโรป" พระสันตะปาปา ตรัสกับบรรดาผู้สื่อข่าว พร้อมกันนี้ พระสันตะปาปายังร่วมยินดีที่รัฐบาลโคลอมเบีย บรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่มกบฏอีกด้วย

โป๊ปฟรังซิส: "ก่อนตัดสินคนอื่น เราควรส่องกระจกดูตัวเองเสียก่อน"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงสอน ก่อนจะตัดสินคนอื่น เราควรส่องกระจกดูตัวเองเสียก่อนว่า เรามีสิ่งสกปรกอยู่ในตัวหรือเปล่า ถ้ามี ทำไมเราไม่ชำระตัวเองก่อนที่จะไปตัดสินคนอื่น ทรงย้ำ การตัดสินเป็นหน้าที่ของพระเจ้า ไม่ใช่ของมนุษย์ หากเราทำตัวตัดสินคนอื่น เราก็ทำตนเทียบเท่าพระเจ้า ทรงชี้ การตัดสินของพระเจ้าเปี่ยมด้วยความเมตตาปราณี ต่างกับมนุษย์ที่ตัดสินได้แย่ และไร้ซึ่งความเมตตาอย่างสิ้นเชิง ช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาเช้าในวัดน้อยประจำหอพักซางตา มาร์ธา พระวรสารวันนี้เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูทรงสอนว่า "อย่าตัดสินคนอื่น แล้วท่านจะไม่ถูกตัดสิน" พระสันตะปาปาทรงเทศน์แบ่งปันว่า - การตัดสินเป็นของพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ถ้าเราไม่อยากถูกคนอื่นตัดสิน เราก็ไม่ควรตัดสินคนอื่นด้วย ถ้าเราไปตัดสินคนอื่น คนอื่นก็จะใช้วิธีนั้นตัดสินตัวเรา - ลองมองเข้าไปในกระจกดูซิ พ่อไม่ได้ให้มองเพื่อบอกให้ไปแต่งหน้าปกปิดริ้วรอยนะ ไม่ ไม่ พ่อไม่ได้หมายความแบบนั้น แต่พ่ออยากให้เรามองตัวเราในกระจก ทำไมเราเห็นสิ่งสกปรก ในดวงตาของเพื่อนมนุษย์ แต่ทำไมเราไม่เห็

โป๊ปฟรังซิส: "เราต้องกล้ามือเปรอะเปื้อนช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ถูกทำร้าย"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงสอน เราต้องเป็นเหมือนชาวสะมาเรียผู้ใจดีที่ยอมมือเปรอะเปื้อนช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ถูกทำร้าย อย่าทำตัวเหมือนพระสงฆ์ที่เอาแต่เรีงรีบ ดูเวลาและบอกต้องรีบไปถวายมิสซา หรืออย่าเหมือนพวกธรรมาจารย์ที่เชื่อพระเจ้าแต่จิตใจแข็งกระด้าง ไม่ช่วยเหลือใคร ทรงย้ำอีกรอบ พระสงฆ์ต้องแยกแยะให้ดีกับการทำพิธีแต่งงานให้คู่สมรสที่ถูกสังคมบีบคั้นให้แต่ง เพราะท้องก่อนแต่ง ทรงยอมรับ หลักสูตรอบรมเตรียมคู่สมรสก่อนแต่งงาน แค่ 3-4 คาบ ไม่เพียงพอที่จะทำให้บางคนเข้าใจถึงการแต่งงานแบบคาทอลิกที่ต้องอยู่ด้วยกันไปจนตาย ช่วงบ่ายวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส เสด็จไปยังบ้านนาซาเร็ธ ซึ่งเป็นบ้านดูแลผู้พิการและเด็กผู้ยากไร้ในกรุงโรม พิธีวันนี้ เริ่มด้วยบทพระวรสารเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี โอกาสนี้ พระสันตะปาปาทรงเทศน์แบ่งปันพวกเขาว่า - เราได้ยินลักษณะของคนหลายแบบจากพระวรสารตอนนี้ แต่ใครล่ะที่สอบผ่านในฐานะเพื่อนมนุษย์ ใช่โจรหรือเปล่า ใช่สมณะหรือชาวเลวีหรือเปล่า หรือจะเป็นคนเฝ้าประตูของโรงแรมที่ชาวสะมาเรียแบบคนชาวยิวที่ถูกปล้นคนนั้นไปพักรักษา บางที ไม่มีสักคนเลยก็ว่าได้ที