Posts

Showing posts from June, 2016

โป๊ปฟรังซิส: "คำภาวนาคือทางออกที่ดีที่สุดเวลาเราเจอเรื่องร้ายๆ"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงสอน คำภาวนาคือทางออกที่ดีที่สุดเวลาเราเจอเรื่องร้ายๆ นี่คือการช่วยเราให้กล้าเผชิญสิ่งต่างๆ ด้วยความวางใจในพระเจ้า ไม่ใช่ปิดตัวเองและหวาดกลัวอย่างเดียว นอกจากนี้ คำภาวนาจะเปลี่ยนความแตกแยกไปเป็นความเป็นหนึ่งเดียวกัน พร้อมกันนี้ ทรงเชิญทุกคน สงบนิ่งและภาวนาให้ผู้สูญเสียจากเหตุโจมตีสนามบินอตาเติร์ก นครอิสตันบลู ประเทศตุรกี อีกด้วย ช่วงสายวันพุธที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล ภายในมหาวิหารนักบุญเปโตร วาติกัน พร้อมทั้งมอบ "ปัลลิอุม" หรือผ้าขนแกะที่สวมคอให้กับบรรดาพระอัครสังฆราชผู้ปกครองอัครสังฆมณฑลต่างๆ จำนวน 25 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งในรอบปีที่ผ่านมา สำหรับบทเทศน์ประจำมิสซานี้ พระสันตะปาปาทรงเทศน์ให้ข้อคิดว่า - แบบอย่างในชีวิตของนักบุญเปโตร พวกเราได้เรียนรู้ว่า เมื่อท่านถูกจองจำ สิ่งที่ท่านทำคือสวดภาวนา เพราะนี่คือทางออกหลักสำหรับกลุ่มคริสตชน ซึ่งภัยอันตรายจากการถูกเบียดเบียนข่มเหงกำลังใกล้เข้ามาและทุกคนกำลังกลัวมาก คำภาวนาด้วยความสุภาพและวางใจในพระประสงค์ของพระเจ้า ยังเป็นทางออกให้กับกา

"โป๊ปกิตติคุณเบเนดิกต์" ร่วมงานฉลอง 65 ปีชีวิตสงฆ์ พร้อมขอบคุณ "โป๊ปฟรังซิส" สำหรับความเมตตาที่มอบให้

Image
สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงกล่าวในที่สาธารณะครั้งแรกหลังจากสละตำแหน่งพระสันตะปาปา ด้วยการขอบคุณและซาบซึ้งกับความเมตตาที่สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส มอบให้พระองค์ นับตั้งแต่วันที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ทรงย้ำ ความเมตตาที่พระสันตะปาปา ฟรังซิส มอบให้นั้น เป็นที่พักที่ทำให้ตัวพระองค์เองรู้สึกปกป้องจากอันตรายต่างๆ โดยตรัสเรื่องนี้ในงานฉลอง 65 ปีชีวิตสงฆ์ของพระองค์ ช่วงสายวันอังคารที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงเป็นประธานในการฉลอง 65 ปีชีวิตสงฆ์ให้กับสมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16 ผู้ซึ่งวันพรุ่งนี้จะเป็นวันครบ 65 ปีที่พระองค์ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ (บวช 29 มิถุนายน ค.ศ.1951) ทั้งนี้ "โยเซฟ รัตซิงเกอร์" (พระสันตะปาปากิตติคุณ) ได้รับศีลบวชวันเดียวกับ "เกยอร์ก รัตซิงเกอร์" พี่ชายแท้ๆ ของพระองค์ แต่ว่า มองซินญอร์เกยอร์ก ยังพำนักอยู่ที่เยอรมนี ไม่ได้บินมาร่วมงานที่วาติกัน โอกาสนี้ พระสันตะปาปา ฟรังซิส ตรัสกับพระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16 ว่า "พระคุณเจ้าเบเนดิกต์ยังคงเดินหน้ารับใช้พระศาสนจักรอย

สัมภาษณ์พระสันตะปาปาบนเครื่องบิน: "มีคนไปบ่นกับโป๊ปกิตติคุณเบเนดิกต์ เรื่องโป๊ปองค์ใหม่ แต่ท่านเชิญพวกนั้นกลับทันที"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงประทานสัมภาษณ์บนเครื่องบินขากลับจากอาร์เมเนียไปยังอิตาลี ทรงเผย มีข่าวลือว่า มีบางคนไปฟ้องและบ่นกับสมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16 เกี่ยวกับพระสันตะปาปาองค์ใหม่ แต่สิ่งที่เกิดคือพระสันตะปาปากิตติคุณเชิญพวกนั้นกลับไปทันที เพราะพระองค์ย้ำจุดยืนแล้วว่า ตนเป็นแค่พระสันตะปาปาที่เกษียณอายุ ไม่ใช่พระสันตะปาปาผู้มีอำนาจ ทรงชี้ คนที่เป็นเกย์ที่มีความตั้งใจจะแสวงหาพระเจ้า เราต้องไม่กีดกันเขา แต่ต้องเดินไปกับเขา เราควรขอโทษคนที่เป็นเกย์ด้วย หากเราเคยทำไม่ดีกับเขาไป ทรงตำหนิ พระสงฆ์บางคนทำตัวเป็นเจ้านาย ไล่ทุบตีชาวบ้าน ไม่ได้ทำตัวเป็นพ่อที่เมตตาซึ่งโอบกอดสัตบุรุษ ทรงแบ่งปัน ไม่คิดว่า การที่ มาร์ติน ลูเธอร์ แยกตัวออกจากคาทอลิกเป็นเรื่องผิด เพราะพระศาสนจักรยุคนั้นทำตัวไม่ดี ทั้งโกง ฝักใฝ่จิตตารมณ์ทางโลก ยึดติดกับเงินและอำนาจ การคัดค้านของลูเธอร์คือการสร้างยารักษาโรคให้พระศาสนจักรมากกว่า  พระสันตะปาปา ตรัสกับนักข่าวช่วงเริ่มต้นว่า "พ่อขอบคุณพวกท่านมากๆ สำหรับการตามทำข่าวครั้งนี้ งานของท่านได้สร้างคุณความดีให้กับผู้คน พวกท่านสื่อสารสิ่งดีๆ ออกไป นี่คือข่า

โป๊ปฟรังซิส: "เยาวชนต้องแสวงหาอนาคตที่เป็นอิสระจากความขัดแย้งทุกรูปแบบ"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงขอร้องเยาวชน จงแสวงหาอนาคตที่เป็นอิสระจากความขัดแย้งทุกรูปแบบ ทรงย้ำ ความเป็นหนึ่งเดียวกันในกลุ่มคริสตชน หมายถึง การยอมรับพระพรที่พระเจ้าประทานให้เราแต่ละคนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป  26 มิถุนายน 2016 - สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรออโธด็อกซ์ตะวันออก ซึ่งประธานในพิธีคือพระอัยกาคาเรคิน ที่ 2 ผู้นำคริสตชนออโธด็อกซ์อาร์เมเนียน พิธีนี้ พระสันตะปาปาเป็นผู้เข้าร่วม และได้ตรัสแบ่งปันกับผู้ร่วมพิธี ใจความว่า -  ก่อนอื่น ข้าพเจ้าขอขอบคุณ พระอัยกา คาเรคิน สำหรับมิตรภาพอันอบอุ่น ท่านได้เปิดประตูบ้านต้อนรับข้าพเจ้า และพวกเราได้สัมผัสแล้วว่า มันเยี่ยมยอดและน่ายินดีเพียงใดเมื่อพี่น้องผู้มีความเชื่อเดียวกัน ได้เป็นหนึ่งเดียวกัน - เราได้พบและได้สวมกอดกันแบบพี่น้อง เราได้ภาวนาด้วยกันและแบ่งปันของขวัญ ความหวัง และความห่วงใยของพระศาสนจักรแห่งพระคริสตเจ้าร่วมกัน พวกเรารู้สึกว่า หัวใจเราเต้นเป็นหนึ่งเดียว และเราก็เชื่อว่า พระศาสนจักรของพระคริสตเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกัน เราทำทุกอย่างเหมือนนักบุญบาร์โธโลมิวและนักบุญยูดาห์ ผู้ซึ่งเป็นคนกลุ่มแรกที่ม

โป๊ปฟรังซิส: "เยาวชนต้องทำตัวเป็นผู้นำสันติและการคืนดีกันในสังคม"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงหวังเห็นเยาวชนทำตัวเป็นผู้นำสันติและการคืนดีกันในสังคม ทรงย้ำ เราอย่าไปใส่ใจกับความคิดแข็งกระด้างของคนบางกลุ่ม แต่เราต้องเลือกทำตัวสุภาพถ่อมตนและโอบอ้อมอารี เพราะนี่คือหนทางนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสตชน  25 มิถุนายน 2016 - สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส เสด็จไปร่วมงานคริสตศาสนสัมพันธ์ที่กรุงเยเรวาน ประเทศอาร์เมเนีย โอกาสนี้ พระสันตะปาปาตรัสแบ่งปันว่า - พ่อขอเรียกร้องบรรดาคริสตชนที่มีความเชื่อทุกคน อย่าไปใส่ใจกับความคิดเห็นที่แข็งกระด้างและความต้องการส่วนตัว แต่จงแสดงออกถึงความสุภาพถ่อมตนและความโอบอ้อมอารีบนหนทางที่นำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสตชน - ในฐานะผู้นำกลุ่มคริสตชน เราทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาความเชื่อนี้ให้ดำรงอยู่ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น ความเชื่อต้องได้รับการถ่ายทอดออกไปด้วยความรัก และด้วยพลังขับเคลื่อนแห่งความเชื่อที่จะหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสันติเพื่ออนาคต - นอกจากนี้ พ่ออยากขอร้องเยาวชนทุกคน โปรดเป็นผู้นำสันติให้กับสังคม จงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการสร้างวัฒนธรรมของการพบหน้ากันและคืนดีกัน

โป๊ปฟรังซิส: "เราทุกคนต้องสร้างสะพานเข้าหากัน อย่าสร้างกำแพงกั้นขวางกัน"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงแบ่งปันเสาหลัก 3 ต้นในชีวิตคริสตชนอาร์เมเนียน ได้แก่ ความทรงจำ ความเชื่อ และความรักที่เมตตา ทรงชี้ เราต้องจดจำสิ่งที่พระเจ้าทรงทำเพื่อเรา ส่วนความเชื่อ เราต้องระวังการประจญที่ล่อลวงเราไม่ให้ถ่ายทอดความเชื่อนี้ให้คนรุ่นหลัง ส่วนความรักที่เมตตา เราทุกคนต้องสร้างสะพานเข้าหากัน อย่าสร้างกำแพงกั้นกัน และจงทำงานอย่างหนัก เพื่อเอาชนะความแตกแยกในสังคม 25 มิถุนายน 2016 - สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซา ณ จัตุรัสวาร์ทานันส์ เมืองยุมรี่ ประเทศอาร์เมเนีย โดยนี่เป็นมิสซาแรกของพระสันตะปาปาในการเสด็จเยือนอาร์เมเนียด้วย สำหรับบทเทศน์ประจำมิสซานี้ พระสันตะปาปาตรัสว่า - พ่ออยากแบ่งปันเสาหลัก 3 ต้นในชีวิตคริสตชนอาร์เมเนียน ซึ่งเสาทั้งสามนี้ตั้งมั่นด้วยความมั่นคง - เสาต้นแรกคือความทรงจำ นี่คือการย้ำเตือนเราถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงทำในตัวเราและทำเพื่อเรา พระองค์ทรงเลือกเรา รักเรา เรียกเรา และให้อภัยเรา ความทรงจำของชาวอาร์เมเนียนจำเป็นต้องได้รับการปกปักรักษาตลอดไป แม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย พระเจ้าทรงจดจำความศรัทธาที่เรามีต่อพระวรสารอย่างแน่นอน คนที่เป็นประจักษ์พยานแม้

โป๊ปฟรังซิส: "ผู้นำทางการเมืองต้องจริงจังกับการหยุดยั้งการเบียดเบียนศาสนาที่ถึงขั้นฆ่ากันตาย"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงร่วมเป็นทุกข์ไปกับชาวอาร์เมเนียนที่ต้องเผชิญการสังหารหมู่จากกองทัพอ็อตโตมันในศตวรรษที่แล้ว โดยตรัสเรื่องนี้ว่าเป็น "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ซึ่งปีที่แล้ว พระองค์ก็ตรัสแบบนี้จนทำให้ตุรกีไม่พอใจ จนต้องเรียกทูตประจำสันตะสำนักกลับประเทศไปนานถึง 10 เดือน ทรงย้ำ ผู้นำทางการเมืองต้องจริงจังกับการหยุดยั้งการเบียดเบียนศาสนาที่ถึงขั้นฆ่ากันตาย  24 มิถุนายน 2016 - สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส เสด็จไปยังทำเนียบประธานาธิบดีของอาร์เมเนีย เพื่อพบปะคณะรัฐบาลและผู้บริหารประเทศ ในส่วนใจความสำคัญของสิ่งที่พระสันตะปาปาตรัสกับพวกเขา มีว่า - อาร์เมเนียเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ นี่คือประเทศแรกที่ประกาศให้คริสตศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นอกจากนี้ เป็นที่เชื่อกันว่า พื้นที่บางส่วนของประเทศเป็นอาณาเขตของสวนเอเมนในพระคัมภีร์ด้วย - อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ข้าพเจ้าต้องขอกล่าวถึงเหตุการณ์ในศตวรรษที่แล้วซึ่งเกิดการสังหารหมู่ หรือที่เราเรียกกันว่า "เม็ตซ์ เยเกิร์น" (ความชั่วสุดเลวร้าย) เมื่อชาวอาร์เมเนียนกว่า 1.5 ล้านคนต้องถูกกองทัพอ็อตโตมานฆ่าตาย นี่

โป๊ปฟรังซิส: "คริสตชนต้องร่วมมือกันเป็นประจักษ์พยาน"

Image
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2016 - พันธกิจแรกในอาร์เมเนียของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ก็คือ การเสด็จไปยังอาสนวิหารโฮลี่ เอ็ตช์มีแอดซิน (Holy Etchmiadzin เพื่อพบกับ พระอัยกา คาเรคิน ที่ 2 ผู้นำพระศาสนจักรอาร์เมเนียและบรรดานักบวชอาร์เมเนียน โอกาสนี้ พระสันตะปาปาตรัสกับพวกเขาว่า "น่าเศร้าที่โลกของเราถูกละเลงด้วยความขัดแย้งและความแตกแยก เช่นเดียวกับความทุกข์หลากหลายรูปแบบทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดังนั้น คริสตชนจึงต้องเป็นประจักษ์พยานแสดงออกถึงความเคารพและการร่วมมือกันอย่างพี่น้อง เพื่อจะได้แสดงออกถึงพลังแห่งการแยกแยะความผิดชอบชั่วดี รวมไปถึงสัจธรรมความจริงของพระคริสต์" ทั้งนี้ อาสนวิหารโฮลี่ เอ็ตช์มีแอดซิน ที่พระสันตะปาปาเสด็จไปนี้ สร้างขึ้นตั้งแต่ ค.ศ.301 หรือประมาณ 1,715 ปีมาแล้ว

โป๊ปฟรังซิสตรัสถึง BREXIT: "เป็นความต้องการที่แสดงออกโดยประชาชน"

Image
ช่วงสายวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ได้ประทับเครื่องบินพระที่นั่งออกจากสนามบินฟิวมิชิโน่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี มุ่งหน้าไปยังสนามบินนานาชาติกรุงเยเรวัน ประเทศอาร์เมเนีย เพื่อเริ่มพันธกิจการเยือนเป็นเวลา 3 วัน  ระหว่างที่อยู่บนเครื่องบิน พระสันตะปาปาทรงทักทายบรรดานักข่าวสายวาติกันที่ตามเสด็จอย่างเป็นกันเอง โดยพระองค์ทรงตอบคำถามนักข่าวเกี่ยวกับการลงประชามติของชาวสหราชอาณาจักรที่ถอนตัวจากสหภาพยุโรปด้วย "มันเป็นความต้องการที่แสดงออกโดยประชาชน สิ่งนี้เรียกร้องเราทุกคนให้มีความรับผิดชอบและยืนยันถึงความเป็นอยู่ที่ดีของชาวสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของทั้งทวีปยุโรป" พระสันตะปาปา ตรัสกับบรรดาผู้สื่อข่าว พร้อมกันนี้ พระสันตะปาปายังร่วมยินดีที่รัฐบาลโคลอมเบีย บรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่มกบฏอีกด้วย

โป๊ปฟรังซิส: "ก่อนตัดสินคนอื่น เราควรส่องกระจกดูตัวเองเสียก่อน"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงสอน ก่อนจะตัดสินคนอื่น เราควรส่องกระจกดูตัวเองเสียก่อนว่า เรามีสิ่งสกปรกอยู่ในตัวหรือเปล่า ถ้ามี ทำไมเราไม่ชำระตัวเองก่อนที่จะไปตัดสินคนอื่น ทรงย้ำ การตัดสินเป็นหน้าที่ของพระเจ้า ไม่ใช่ของมนุษย์ หากเราทำตัวตัดสินคนอื่น เราก็ทำตนเทียบเท่าพระเจ้า ทรงชี้ การตัดสินของพระเจ้าเปี่ยมด้วยความเมตตาปราณี ต่างกับมนุษย์ที่ตัดสินได้แย่ และไร้ซึ่งความเมตตาอย่างสิ้นเชิง ช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาเช้าในวัดน้อยประจำหอพักซางตา มาร์ธา พระวรสารวันนี้เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูทรงสอนว่า "อย่าตัดสินคนอื่น แล้วท่านจะไม่ถูกตัดสิน" พระสันตะปาปาทรงเทศน์แบ่งปันว่า - การตัดสินเป็นของพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ถ้าเราไม่อยากถูกคนอื่นตัดสิน เราก็ไม่ควรตัดสินคนอื่นด้วย ถ้าเราไปตัดสินคนอื่น คนอื่นก็จะใช้วิธีนั้นตัดสินตัวเรา - ลองมองเข้าไปในกระจกดูซิ พ่อไม่ได้ให้มองเพื่อบอกให้ไปแต่งหน้าปกปิดริ้วรอยนะ ไม่ ไม่ พ่อไม่ได้หมายความแบบนั้น แต่พ่ออยากให้เรามองตัวเราในกระจก ทำไมเราเห็นสิ่งสกปรก ในดวงตาของเพื่อนมนุษย์ แต่ทำไมเราไม่เห็

โป๊ปฟรังซิส: "เราต้องกล้ามือเปรอะเปื้อนช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ถูกทำร้าย"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงสอน เราต้องเป็นเหมือนชาวสะมาเรียผู้ใจดีที่ยอมมือเปรอะเปื้อนช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ถูกทำร้าย อย่าทำตัวเหมือนพระสงฆ์ที่เอาแต่เรีงรีบ ดูเวลาและบอกต้องรีบไปถวายมิสซา หรืออย่าเหมือนพวกธรรมาจารย์ที่เชื่อพระเจ้าแต่จิตใจแข็งกระด้าง ไม่ช่วยเหลือใคร ทรงย้ำอีกรอบ พระสงฆ์ต้องแยกแยะให้ดีกับการทำพิธีแต่งงานให้คู่สมรสที่ถูกสังคมบีบคั้นให้แต่ง เพราะท้องก่อนแต่ง ทรงยอมรับ หลักสูตรอบรมเตรียมคู่สมรสก่อนแต่งงาน แค่ 3-4 คาบ ไม่เพียงพอที่จะทำให้บางคนเข้าใจถึงการแต่งงานแบบคาทอลิกที่ต้องอยู่ด้วยกันไปจนตาย ช่วงบ่ายวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส เสด็จไปยังบ้านนาซาเร็ธ ซึ่งเป็นบ้านดูแลผู้พิการและเด็กผู้ยากไร้ในกรุงโรม พิธีวันนี้ เริ่มด้วยบทพระวรสารเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี โอกาสนี้ พระสันตะปาปาทรงเทศน์แบ่งปันพวกเขาว่า - เราได้ยินลักษณะของคนหลายแบบจากพระวรสารตอนนี้ แต่ใครล่ะที่สอบผ่านในฐานะเพื่อนมนุษย์ ใช่โจรหรือเปล่า ใช่สมณะหรือชาวเลวีหรือเปล่า หรือจะเป็นคนเฝ้าประตูของโรงแรมที่ชาวสะมาเรียแบบคนชาวยิวที่ถูกปล้นคนนั้นไปพักรักษา บางที ไม่มีสักคนเลยก็ว่าได้ที

โป๊ปฟรังซิส: "การภาวนาที่ดีที่สุดคือการภาวนาขอพระเจ้าให้อภัยคนที่ทำผิดต่อเรา"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงสอน บทข้าแต่พระบิดาคือเสาหลักของชีวิตภาวนา เวลาสวด เราต้องเริ่มด้วยบทนี้ เพราะทุกจังหวะสำคัญในชีวิตพระเยซู พระองค์ก็เรียกหาพระบิดาก่อนเสมอ ทรงเตือนสติ ถ้าเราไม่รู้สึกถึงการเป็นลูกของพระ แล้วเราสวดบทข้าแต่พระบิดา บทสวดนี้จะเป็นเหมือนการท่องจำมากกว่า ทรงย้ำ การภาวนาที่ดีที่สุดคือการภาวนาขอพระเจ้าให้อภัยคนที่ทำผิดต่อเรา ไม่ใช่ภาวนาขอให้พระเจ้าลงโทษเขา ช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาเช้าในวัดน้อยประจำหอพักซางตา มาร์ธา พระวรสารวันนี้เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูทรงสอนให้สวดบทข้าแต่พระบิดา พระสันตะปาปาทรงแบ่งปันว่า - พระเยซูทรงเรียกหา 'พระบิดา' อยู่เสมอในช่วงเวลาสำคัญๆ หรือจะเป็นช่วงเวลาของการเผชิญกับการทดลองในชีวิตของพระองค์ เราก็ควรเป็นเช่นนั้น เพราะพระบิดาทรงรู้ถึงสิ่งที่เราต้องการก่อนที่เราจะเอ่ยปากขอพระองค์ด้วยซ้ำ พระบิดาคือพ่อผู้ฟังเราแบบเงียบๆ เหมือนที่พระเยซูทรงแนะนำให้เราสวดขอพระบิดาแบบเงียบๆ นั่นแหละ - โดยอาศัยพระบิดา เราจึงได้รับอัตลักษณ์การเป็นลูกของพระเจ้า เมื่อเราพูดว่า 'พระบิดา' นี่คือก

โป๊ปฟรังซิส: "อยากเป็นคนดีพร้อมเหมือนพระบิดา เราต้องรักศัตรูและภาวนาให้คนที่เบียดเบียนเรา"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงสอน สิ่งที่ยากสุดในการเป็นคนดีพร้อมเหมือนพระบิดา ก็คือ "การรักศัตรูและภาวนาให้คนที่เบียดเบียนเรา" ทรงชี้ การสวดขอพระเจ้าให้ส่งผู้นำที่ไม่ดีหรือคนที่เราเกลียดไปลงนรก เป็นการกระทำที่ผิด สิ่งที่ถูกคือเราต้องสวดให้พวกเขา เพราะคำภาวนาจะเปลี่ยนพวกเขาให้เป็นคนดีขึ้นและยังทำให้เราดีพร้อมเหมือนพระบิดา ทรงย้ำ คำสอน "อย่าฆ่าคน" ยังรวมไปถึงการไม่ใส่ร้ายคนอื่นด้วย ช่วงเช้าวันอังคารที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาเช้าในวัดน้อยประจำหอพักซางตา มาร์ธา พระวรสารวันนี้ พระเยซูทรงสอนว่า "จงรักศัตรู จงภาวนาให้คนที่เบียดเบียนท่าน" พระสันตะปาปาทรงเทศน์ให้ข้อคิดว่า - คำสอนของพระเยซูที่ว่า "จงรักศัตรู จงภาวนาให้คนที่เบียดเบียนท่าน" ขัดแย้งกับสิ่งที่พวกนักปราชญ์ทางกฎหมายสั่งสอนเป็นอย่างมาก พวกนั้นสอนว่า "จงรักเพื่อนบ้านและเกลียดศัตรู" พวกนักปราชญ์เหล่านี้ห่วงแต่เรื่องของตัวเอง แต่พระเยซูแสดงให้เห็นว่า ความรู้สึกที่แท้จริงตามตัวบทกฎหมายนั้น พระองค์สามารถเติมเต็มได้ - พระเยซูทรงมอบตัวอย่างให้เห็นมากมาย เ

โป๊ปฟรังซิส: "เวลาเห็นคนอดอยาก ทำไมความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเราถึงไร้ความรู้สึกไปเฉยๆ"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงชี้ เราเห็นคนอดอยากทุกวัน แต่ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเราตายด้านไร้ความรู้สึกไปได้อย่างไร ทำไมเราไม่รู้สึกสงสารและอยากช่วยพวกเขากันเลย ทรงขอร้อง อย่ามองความยากจนเป็นแค่ตัวเลขเชิงสถิติ แต่จงมองความยากจนคือความจริง ซึ่งใบหน้าของความยากจนคือใบหน้าของผู้ยากไร้ทุกคน ทรงแบ่งปัน เป็นเรื่องแปลกมากที่หน่วยงานบรรเทาความหิวโหยไม่สามารถนำอาหารไปช่วยเหลือคนอดอยากในพื้นที่สงคราม แต่พวกพ่อค้าอาวุธกลับเดินเข้าออกพื้นที่สงครามได้อย่างสบาย  ช่วงสายวันจันทร์ที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส เสด็จไปยังโครงการอาหารโลก (World Food Programme) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโรม โดยหน่วยงานนี้อยู่ภายใต้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) และยังเป็นองค์การด้านมนุษยธรรมใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งจัดการปัญหาความหิวโหย โอกาสนี้ พระสันตะปาปาทรงกล่าวสุนทรพจน์กับทุกคนว่า - มันเป็นเรื่องน่าขมขื่นมากที่การแจกจ่ายอาหารให้ผู้หิวโหย ต้องถูกขัดขวางจากพื้นที่สงครามและการค้าอาวุธ ผลที่ตามมาก็คือคนได้รับสงครามแทนอาหาร! ยิ่งไปกว่านั้น ในบางกรณี ผู้อดอยากหิวโหยถูกใช้เป็นอาวุธของสงครามด้วยซ้ำไป พวกเราทุกค

โป๊ปฟรังซิส: "ทัศนคติแบบคาทอลิกคือต้องทำทุกอย่างให้ดีพร้อมเสมอ"

Image
สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงสอน ทัศนคติแบบคาทอลิกคือต้องทำทุกอย่างให้ดีพร้อม อาทิ ไม่ใส่ร้ายคนอื่น ไม่สร้างความขัดแย้ง และดำเนินชีวิตบนสันติ ทัศนคติคาทอลิกต้องไม่เป็นแบบ "ลองทำแบบนี้ซิ ไม่งั้น ก็ไม่ต้องทำอะไรเลย" ทรงย้ำ เป็นเรื่องอัปยศมากเวลาพระสันตะปาปา พระสังฆราช และพระสงฆ์ เทศน์สอนสัตบุรุษไปแบบนี้ แต่ตัวเขาเองไม่ประพฤติตนตามที่สอนคนอื่น ทรงชี้ มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์มากในการคิดค้นคำใส่ร้ายคนอื่น แต่การใส่ร้ายนี้เป็นเหมือนการฆ่าคน เพราะมันคือการย่ำยีจิตวิญญาณของเพื่อนพี่น้องและศักดิ์ศรีความเป็นคนของเขา  ช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงถวายมิสซาเช้าในวัดน้อยประจำหอพักซางตา มาร์ธา พระวรสารวันนี้เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูทรงสอนว่า "ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ได้ดีไปกว่าพวกธรรมาจารย์หรือฟาริสี ท่านจะเข้าอาณาจักรสวรรค์ไม่ได้เลย" พระสันตะปาปาทรงเทศน์ให้ข้อคิดว่า - พวกเรามีความคิดสร้างสรรค์มากๆ ในการคิดค้นคำกล่าวหาในการใส่ร้ายคนอื่น แต่การกล่าวหาที่เราทำนั้นเป็นบาปและมันคล้ายกับการฆ่าคน เพราะมันคือการย่ำยีจิตวิญญาณของเพื่อนพี่น้องแล