Posts

Showing posts from January, 2013

ฟาติมาสาร - เมื่อวาติกันถูกบังคับให้รับแต่เงินสด (3 ก.พ. 2013)

Image
ผ่านปีใหม่ 2013 มาไม่นาน อีกไม่กี่อึดใจก็จะถึงวันสงกรานต์ช่วงหยุดยาวของชาวไทยอีกแล้ว ไม่แน่ใจว่า สงกรานต์นี้มีใครมีโปรแกรมไปทัวร์วาติกันบ้างไหม ถ้ามีบทความวันนี้จะเป็นอีกหนึ่งข้อมูลน่าสนใจให้ทุกคนได้เตรียมตัวเกี่ยวกับเรื่องเงิน หากยังจำกันได้ ปลายปีที่แล้ว ผมเคยเสนอข่าวว่า ธนาคารวาติกันถูกธนาคารกลางแห่งอิตาลี (แบงค์ชาติ) สั่งอายัติการโอนเงินเข้าออกภายหลังพบว่ามีส่วนพัวพันการฟอกเงิน ผลที่ตามมาคือมีการสั่งปลด “ก็อตติ เตเดสคี่” ประธานธนาคารวาติกันในตอนนั้นออกจากตำแหน่ง จากนั้นไม่นาน สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงออกกฎหมายใหม่ในเขตวาติกัน เพื่อปฏิรูปธนาคารวาติกันให้หลุดพ้นวงจรอุบาทว์ที่มีพวกมาเฟียเข้าไปแทรกซึมเพื่อฉกฉวยผลประโยชน์ส่วนตน หนึ่งในกฎที่พระสันตะปาปาออกมานั้นก็คือ “ถ้าใครเข้าออกเขตวาติกัน แล้วมีเงินสดติดตัวเกิน 10,000 ยูโร (400,000 บาท) จะต้องสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ทันที” กฎนี้ออกมาเพื่อป้องกันพวกไม่ประสงค์ดี ไม่ว่าจะเป็นในชุดนักบวชหรือฆราวาสนำเงินไปฝากในธนาคารวาติกัน ซึ่งถ้าฝากเข้าไปแล้ว กฎหมายจะไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบ เพราะธนาคารวาติกันไม่ได้เข้าระบบกฎหมายธนาคารโลก นั่นจึง

ฟาติมาสาร - สำรวจสถิติสมณทูตทั่วโลก (27 มกราคม 2013)

Image
วันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งสมณทูตองค์แรกประจำประเทศมาเลเซีย นามว่า “พระอัครสังฆราช โจเซฟ มาริโน่” สมณทูตองค์นี้เป็นชาวอเมริกัน นอกจากจะเป็นสมณทูตที่มาเลเซีย ยังเป็นผู้แทนพระสันตะปาปาประจำติมอร์ตะวันออกและบรูไนด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างมาเลเซียกับสันตะสำนักก่อตัวเป็นรูปร่างอย่างทางการในเดือนกรกฎาคม 2011 เมื่อ “ราจิบ ราซัค” นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซียได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 และหารือเกี่ยวกับการตั้งสถานทูตวาติกันประจำมาเลเซีย จากวันนั้นถึงวันนี้ ใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในที่สุดคาทอลิกมาเลเซียก็มีสมณทูตองค์แรกในประวัติศาสตร์ หลังจากก่อนหน้านี้เกือบ 45 ปี ผู้แทนพระสันตะปาปาในมาเลเซียจะเป็นสมณทูตจากประเทศใกล้เคียง อาทิ ไทยและสิงคโปร์ เป็นส่วนใหญ่ ผู้แทนพระสันตะปาปาประจำประเทศไทย ( APOSTOLIC PRO-NUNCIO ... ขั้นก่อนสมณทูต) ที่ต้องดูแลมาเลเซียด้วย ได้แก่ พระอัครสังฆราช ฌอง ฌาโดส์ (คนไทยเรียก “ยัง ยาโดส์” .. ปัจจุบัน เสียชีวิตแล้ว), พระอัครสังฆราช โจวานนี่ โมเร็ตติ, พระอัครสังฆราช ซิลวิโอ ลูโอนี่, พระอัครสังฆราช รัฟฟาเอเล่ มาร์ติโน่ (คนนี้ปัจจุบันเป็

ฟาติมาสาร - “นักบุญที่โลกรอ” (20 มกราคม 2013)

Image
ปี 2011 โลกมีบุญราศีใหม่ชื่อ “จอห์น ปอล ที่ 2” ตอนนี้ มีข่าวลือจากกรุงโรมออกมาว่า ปี 2013 บุญราศีขวัญใจคนนับล้านทั่วโลกไม่น่าจะได้เป็นนักบุญ แต่ถ้าเป็นปี 2014 ล่ะก็ ไม่แน่เหมือนกัน  หลังวันคริสต์มาสที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์หลายแห่งในโปแลนด์นำเสนอข่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่วาติกันเตรียมสถาปนาบุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2 เป็นนักบุญในเดือนตุลาคม 2013 หลังจาก มองซินญอร์ สลาโวเมียร์ โอเดอร์ ผู้รับผิดชอบการศึกษากรณีนี้ ได้สรุปและส่งอัศจรรย์ที่มีผู้ได้รับจากพระเจ้า ผ่านการสวดขอของบุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2 ให้สมณกระทรวงประกาศการเป็นนักบุญ ได้พิจารณาแล้ว ข่าวนี้สร้างกระแสให้ผู้รับสารสองอย่าง หนึ่งคือความดีใจและสองคือความสับสน เรื่องความดีใจคงไม่ต้องอธิบายให้เปลืองหน้ากระดาษว่าเพราะเหตุใด แต่ชวนให้สับสนเพราะสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 เพิ่งจะเป็นบุญราศีไปแค่ปีกว่า อีกแป๊ปๆจะเป็นนักบุญแล้วหรือนี่ เมื่อเป็นเช่นนี้ อันเดรีย ตอร์นิเอลลี่ นักข่าวสายวาติกันชื่อดังระดับโลก จึงได้สอบถามไปยัง “พระคาร์ดินัล โจวานนี่ บัตติสต้า เร” ประธานกิตติคุณของสมณกระทรวงเพื่อพระสังฆราช ถึงความถูกต้องของข่าวนี้ พระค

ฟาติมาสาร - แนวโน้มการแต่งงานตามจารีตคาทอลิก (13 ม.ค. 2013)

Image
เชื่อว่า คนที่ไม่ใช่คาทอลิกหลายคนน่าจะมีความฝันอย่างหนึ่งคืออยากจัดพิธีแต่งงานในโบสถ์คาทอลิก (หรือจะเป็นโปรเตสแตนท์ก็ได้) ความฝันแบบนี้ส่วนมากจะเกิดกับชาวเอเชีย เพราะหลายประเทศในเอเชียไม่ได้มีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ การแต่งงานในโบสถ์ที่มีโครงสร้างและการตกแต่งภายในอลังการ น่าจะช่วยให้งานแต่งงานของพวกเขาดูสวยสดงดงาม   อย่างไรก็ตาม ความคิดที่ว่ากลับตรงกันข้ามในทวีปยุโรปซึ่งทุกชาติมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ตอนนี้ คนยุโรปส่วนมากเลือกไม่แต่งงานตามแบบคาทอลิกที่จัดในโบสถ์ แต่เลือกไปจัดที่ศาลาว่าการของเมือง รวมทั้งจัดตามสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นภูเขาหรือทะเล (ส่วนมากจะจัดฤดูร้อน) เรียกได้ว่า ชาวยุโรปส่วนมากแทบให้ความสำคัญกับการแต่งงานตามจารีตศาสนาลดลงไปเรื่อยๆ ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน (ประมาณปี 2008) ผมเคยได้รับข้อมูลว่า อัตราการแต่งงานในโบสถ์ของชาวยุโรป (แต่งงานตามจารีตศาสนา) เริ่มลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง บทวิเคราะห์ดังกล่าวสรุปว่า ถ้าอัตรายังเพิ่มแบบนี้ไปเรื่อยๆ ภายในไม่เกิน 5 ปี อัตราการแต่งงานแบบไปจดทะเบียนที่เขตหรือศาลาว่าการเมือง (CIVIL MARRIAGE) น่าจะทิ้งห่างอัตราการแต่งงานใ