Posts

Showing posts from May, 2011

ฟาติมาสาร - การปฏิรูปและชำระล้างสิ่งแย่ๆ ... เริ่มขึ้นแล้ว (5 มิ.ย. 2011)

Image
สมัยที่ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ยังดำรงสมณศักดิ์ “พระคาร์ดินัล โยเซฟ รัตซิงเกอร์” เวลาที่คนทั่วไปได้ยินชื่อนี้ สิ่งแรกที่พวกเขานึกถึงคือความเป็นคนสุภาพ, การไม่ยอมก้มหัวให้ความไม่ถูกต้อง และความเด็ดขาดในการตัดสินใจ มาปีนี้ ความเป็นตัวตนเหล่านี้ ค่อยๆถูกเผยแสดงออกมาทีละเล็กทีละน้อย โดยเริ่มจากกรุงโรมและแผ่ขยายออกไปยังสังฆมณฑลต่างๆทั่วโลก สัปดาห์ที่แล้ว ข่าวคาทอลิกที่ดังระดับโลก มาจากกรุงโรม เมื่อสำนักข่าวทุกแห่งรายงานว่า “พระสันตะปาปาสั่งปิดอารามคณะซิสเตอร์เชี่ยน ประจำมหาวิหารซานตาโครเชแห่งเยรูซาเล็ม” (แปลว่า กางเขนศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงเยรูซาเล็ม ... ชื่อบอกว่า “แห่งเยรูซาเล็ม” แต่จริงๆแล้ว ตั้งอยู่ในกรุงโรม) มหาวิหารนี้ สร้างในค.ศ.325 และยังเป็น 1 ใน 7 มหาวิหารของกรุงโรมที่ผู้แสวงบุญ “ควร” จะไปเยือน ข่าวนี้ “ดัง” ในวงการสื่อ และ “ตลกขบขันเชิงขายหน้า” ในวงการบันเทิง ... ต้นตอของเรื่องเกิดในปี 2009 เมื่อ “ซิสเตอร์ อันนา โนบิลี่” นักบวชคณะซิสเตอร์เชี่ยน (ในอดีต ซิสเตอร์คนนี้ เป็นนักเต้นระบำโป๊ชื่อดังของอิตาลี ก่อนจะกลับใจและสมัครบวชเป็นซิสเตอร์) ได้จัดการแสดง “ระบำศักดิ์สิ

ฟาติมาสาร - การบ้านสำหรับสภาพระสังฆราชคาทอลิกทั่วโลก (29 พ.ค. 2011)

Image
สัปดาห์ที่แล้ว ผมรายงานว่า วาติกันออกเอกสาร “UNIVERSAE ECCLESIAE” (พระศาสนจักรสากล) เอกสารว่าด้วยการถวายมิสซาแบบดั้งเดิมก่อนสังคยานาวาติกันที่ 2 คล้อยหลังไม่กี่วัน วาติกันออกเอกสารสำคัญอีกฉบับ คราวนี้ไม่เกี่ยวกับมิสซาลาติน แต่เป็นเรื่องการป้องกันสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศที่กำลังเป็นปัญหาหนักสำหรับพระศาสนจักรคาทอลิกทั่วโลก  เอกสารฉบับนี้ วาติกันได้สั่งการบ้านสภาพระสังฆราชคาทอลิกทั่วโลก (รวมทั้งประเทศไทย) ให้ร่างข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติ เมื่อเกิดคดีสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศในประเทศของตน แล้วส่งกลับไปที่สมณกระทรวงหลักความเชื่อ หน่วยงานสำคัญสุดของสันตะสำนัก (คล้ายกระทรวงมหาดไทย) โดยวาติกันสั่งให้ส่งเอกสารดังกล่าว ก่อนวันที่ 31พฤษภาคม 2012 เท่ากับว่า ทุกประเทศมีเวลาในการร่างเอกสารเท่ากัน นั่นคือ 1 ปีเต็มๆ   สาเหตุที่วาติกันสั่งให้ร่างเอกสาร ก็เพราะต้องการให้สภาพระสังฆราชคาทอลิกประเทศต่างๆ มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเวลาเกิดปัญหา อาทิ มีแนวทางปกป้องเด็ก, การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจของเหยื่อผู้บริสุทธิ์, การดูแลสงฆ์ที่ถูกกล่าวหา, การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ, การรับมือสื่อมวลชน และการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยทางจ

ฟาติมาสาร - เมื่อพระสันตะปาปาเอาจริงกับ “มิสซาลาติน” (22 พฤษภาคม 2011)

Image
เย็นวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา ก่อนการฉลองวัดแม่พระฟาติมาไม่กี่ชั่วโมง วาติกันได้ออกเอกสารสำคัญฉบับหนึ่งชื่อว่า “UNIVERSAE ECCLESIAE” (พระศาสนจักรสากล) เอกสารฉบับนี้ว่าด้วยการถวายมิสซาแบบดั้งเดิมก่อนสังคยานาวาติกันที่ 2 (TRIDENTINE RITE – มิสซาลาตินที่พระสงฆ์หันหลังให้สัตบุรุษและใช้ภาษาลาตินตลอดมิสซา) พระคาร์ดินัล โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน) เมื่อครั้งถวายมิสซาลาติน หากจำกันได้ ฟาติมาสารฉบับวันที่ 23 กันยายน 2007 ผมเคยรายงานเรื่องสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงออกสมณกฤษฎกีกาการอนุญาตให้พระสงฆ์ถวายมิสซาลาตินได้อีกครั้ง สมณกฤษฎีกาดังกล่าวมีชื่อว่า “SUMMORUM PONTIFICUM” (ภาษาลาติน แปลว่า พระสันตะปาปาผู้มีอำนาจสูงสุด) ในกฤษฏีกาดังกล่าว พระสันตะปาปาทรงระบุว่า สาเหตุที่อนุญาตให้มีการถวายมิสซาลาตินอีกครั้ง ก็เพราะต้องการสร้างความปรองดองและเอกภาพในหมู่คริสตัง เนื่องจาก 40 กว่าปีที่ผ่านมาหลังสังคยานาวาติกันที่ 2 คริสตังมีความคิดแตกแยกรุนแรงเกี่ยวกับพิธีมิสซา อาทิ สมาคมนักบุญปีโอ ที่ 10 (กลุ่มเลอแฟ๊บวร์) ซึ่งเป็นกลุ่มคริสตังที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดขั้วและต่อต้านม

ฟาติมาสาร - เบื้องหลังชีวิตแต่ละวันของพระสันตะปาปา (15 พฤษภาคม 2011)

Image
นิตยสาร TIME ได้ร่วมแสดงความยินดีกับสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 โอกาสการครบรอบ 6 ปีแห่งสมณสมัยของพระองค์ ด้วยการทำสกู๊ปพิเศษ “AT HOME WITH THE POPE: INSIDE POPE BENEDICT XVI’S DAILY LIFE” (ในบ้านพร้อมพระสันตะปาปา: เบื้องหลังชีวิตประจำวันของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16) ผมเห็นว่าน่าสนใจ จึงขอนำมาแบ่งปันทุกท่านพร้อมกัน ในอดีต “กลุ่มแม่บ้าน” ที่ดูแลความเรียบร้อยในพระราชวังพระสันตะปาปา จะเป็นซิสเตอร์คณะต่างๆที่พระสันตะปาปาทรงเลือกให้มาปฏิบัติหน้าที่ ทว่าปี 1922 สมเด็จพระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 11 ทรงเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกในประวัติศาสตร์ซึ่งต้องการให้กลุ่มแม่บ้าน (ฆราวาส) ที่ทำงานรับใช้พระองค์ตั้งแต่สมัยเป็นพระคาร์ดินัล มาทำงานให้พระองค์อีกครั้งหลังได้รับการเลือกให้เป็นพระสันตะปาปา ตอนนั้น พระคาร์ดินัลหลายองค์ในวาติกันพยายามทูลพระสันตะปาปาว่า “มันไม่เหมาะสมที่จะให้ฆราวาสเข้ามาทำงานในที่ประทับของพระสันตะปาปา นอกจากนี้ ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนว่า พระสันตะปาปาทรงนำคนที่ไม่ใช่นักบวชมาทำงานในที่ประทับของพระองค์” กระนั้น พระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 11 ทรงตอบว่า “ไม่เป็นไร พ่อจะเป็นคนแรกในประวั

ฟาติมาสาร - บทสรุปมิสซาสถาปนา “บุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2” (8 พฤษภาคม 2011)

Image
ต้องบอกว่า มิสซาสถาปนา “บุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2” เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ศักดิ์สิทธิ์ และสง่างามคุ้มค่าแก่การรอคอยจริงๆ รายละเอียดทุกอย่างไล่ตั้งแต่พิธีกรรม, ทีมงานถ่ายทอดสด, ช่างภาพ และคณะนักขับร้องของสังฆมณฑลโรมผสมนักขับร้องของวาติกัน ทำงานได้สมบูรณ์แบบ หลายท่านได้ติดตามการถ่ายทอดสด หลายท่านไม่ได้ติดตาม ไม่เป็นไร ผมจะสรุปรายละเอียดทุกอย่างให้ทราบกัน โดยเริ่มตั้งแต่คืนวันเสาร์ที่ 30 เมษายน ซึ่งมีการจัดพิธีตื่นเฝ้าเตรียมจิตใจก่อนสถาปนาบุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2 และพิธีในวันที่ 1 พ.ค. ซึ่งคือวันสถาปนาบุญราศีอย่างเป็นทางการนั่นเอง เริ่มกันด้วยคืนวันที่ 30 เมษายน พิธีตื่นเฝ้าเตรียมจิตใจก่อนสถาปนาบุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2 งานนี้ มีการเชิญบุคคล 3 ท่านที่ผูกพันกับสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 แบบสุดๆมาแบ่งปันประสบการณ์ ได้แก่ พระคาร์ดินัล สตานิสลาฟ จีวิสซ์ เลขาฯผู้รับใช้พระสันตะปาปาบุญราศีมานานกว่า 40 ปี, ซิสเตอร์มารี ซิมง-ปิแอร์ ผู้ได้รับอัศจรรย์หายจากโรคพาร์กินสัน ด้วยการสวดขอพระเจ้า ผ่านทางพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 และคนสุดท้ายคือ คุณหมอฆัวกิน นาบาร์โร่-บัลส์ อดีตโฆษกวาติกันในสมณสมัยของพระ

คลิป "มิสซาสถาปนา บุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2" (แบบเต็ม)

Image
สำหรับท่านที่อยากติดตามมิสซาสถาปนา "บุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2" แบบเต็มๆ Pope Report ได้นำคลิปดังกล่าวกลับมา่ให้ชมกันอีกครั้ง คำแนะนำ - อยากให้ดูชั่วโมงที่ 1.48 เพราะเป็นวินาทีที่ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ประกาศสถาปนา "บุญราศี จอห์น ปอล ที่ 2" อย่างเป็นทางการ พร้อมมีการเปิดผ้าคลุมรูปบุ ญราศีออก, มีการถวายพระธาตุ "เลือด" พระสันตะปาปา และมีการขับร้องเพลงอย่างสุ ดซึ้ง ร่วมรายงานโดย คณะอุร์สุลินแห่งประเทศไทย, โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย และ วัดเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ